การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนจริงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เพ็ญพักตร์ สุวรรณศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ มีชื่อว่า PIACA MODEL มี 5 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (2) ขั้นแนะนำหัวข้อปัญหา (3) ขั้นคิดวิเคราะห์ (4) ขั้นสร้างความรู้ และ (5) ขั้นการนำไปใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.45/86.90  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3) ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 90.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Article

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545). การคิดเชิงวิพากษ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

งานวัดผลและประเมินผล. (2563). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปีการศึกษา 2563. ขอนแก่น: งานวัดผลและประเมินผล ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น.

จิราภรณ์ พิมใจใส. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ชาญณรงค์ เฮียงราช. (2556). การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชาติ แจ่มนุช. (2545). สอนอย่างไรให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

ชมพูนุท โนนทนวงษ์, วัลลภา อารีรัตน์, และอรุณศรี อึ้งประเสริฐ. (2558). การได้พัฒนากิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ปีที่ 38 ฉบับที่ 1, หน้า 17-25

ฑิฑิตยา สุดเพาะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว . ครูเชี่ยวชาญโรงเรียนเทศบาลวัดกลาง เทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นท์.

ฝ่ายวิชาการ. (2563). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านลานวิทยาคม. ขอนแก่น: ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น.

พิรุณรัตน์ ขาวไชยมหา, วัลลภา อารีรัตน์, และอรุณศรี อึ้งประเสริฐ. (2558). การได้พัฒนากิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับจำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่, ปีที่ 38 ฉบับที่ 1, หน้า 9-18

มาเรียม นิลพันธ์. (2555). วิธีการวิจัยทางการศึกษา Research Methodology in Education. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปกร.