การส่งเสริมทักษะกีฬา การเล่น และนันทนาการ ของบุคคลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม

Main Article Content

ปริศนา อานจำปา
กฤษณพงษ์ หรัญรัตน์
จิตรา โซ่เมืองแซะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว การเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว สำหรับบุคคลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม โดยใช้นวัตกรรมวิดีโอการฝึกทักษะคีตะมวยไทย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว รูปแบบ A – B กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคคลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก จังหวัดขอนแก่น จำนวน 10 คน อายุระหว่าง 15-30ปี เครื่องมือในการประเมินผลการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินทักษะคีตะมวยไทยแอโรบิก ในบุคคลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถภาพของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึม ก่อนการใช้นวัตกรรมวิดีโอการฝึกทักษะคีตะมวยไทย คิดเป็น 24.1 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คิดเป็น 8.54 คะแนน ค่าเฉลี่ยคะแนนสมรรถภาพของนักเรียนที่มีภาวะออทิสซึม หลังการใช้นวัตกรรมคิดเป็น 43.1 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คิดเป็น 11.9 คะแนน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า นวัตกรรมวิดีโอการฝึกทักษะคีตะมวยไทย ช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การทรงตัว การเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว สำหรับบุคคลที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม

Article Details

บท
Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 19 กันยายน). 10 อันดับการออกกำลังกาย คนไทยปี 2558.

ดรุณวรรณ สุขสม. (2561). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดา กาญจนะวณิชย์.(2543). การเปรียบเทียบผลของการเต้นแอโรบิกแบบศิลปะมวยไทยกับการเต้น แอโรบิกแบบแรงกระแทกต่ำที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุเทพ สิทธิโสภณ.(2547). ผลการฝึกกายบริหารชุดแม่ไม้มวยไทย 2 แบบที่มีต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกลไกของนักเรียนหญิงโรงเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สุพรรณพงศ์ วงษ์ศรีเพ็ง และณัฐวี อุตกฤษฎ์. (2555). การประยุกต์ใช้เทคนิคความเป็นจริงเสริมเพื่อ ใช้ในการสอนเรื่องพยัญชนะไทย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ.

อำนาจ ชิดทอง. (2555). เทคนิคความเป็นจริงเสริมเพื่อผลิตสื่อการสอน สำหรับโครงสร้างต้นไม้ (E-thesis). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

American Psychiatric Association, Neurodevelopmental Disorders. In American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders 5th ed. (DSM-5). Washington DC: American Psychiatric Publishing; pp. 31-86.

Crisafulli, A., Vitelli, S., Cappai, I., Milia, R., Tocco, F., Melis, F., and Concu, A. (2009). Physiological responses and energy cost during a simulation of a Muay Thai boxing match. Applied Physiology, Nutrition, and Metabolism, 34(2), 143-150.