การศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาครูที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของนักศึกษาครูชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และเพื่อศึกษาบริบททั่วไปของนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 1 ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แนวคิดทักษะศตวรรษที่ 21 เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ จำนวน 39 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามความคาดหวังของนักศึกษา 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 3) การเขียนอนุทิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ การตีความ
ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาครูนั้นมีความคาดหวังต่อกระบวนการเรียนการสอน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ในประเด็นของมุมมองในศตวรรษที่ 21 มากที่สุด 2 ด้าน คือ (1) ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม : ความสามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหาสามารถ ให้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ คิดอย่างเป็นระบบ มีการพิจารณาและตัดสินใจ (2) ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน : ความยืดหยุ่นและการปรับตัว สามารถยืดหยุ่นและปรับตัวเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในส่วนบริบททั่วไปของนักศึกษาครู การเลือกเรียน ในหลักสูตร คือ นักศึกษาส่วนใหญ่อยากเรียนด้วยตนเอง มีความสนใจ อยู่ใกล้ภูมิลำเนา และค่าครองชีพไม่แพง ซึ่งข้อค้นพบในงานวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปเป็นข้อมูลในการเตรียมการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตรที่มีคุณภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมในศตวรรษที่ 21 ให้สอดคล้องกับสิ่งที่นักศึกษาสนใจ เข้าถึงผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรกนก วงศ์พันธุเศรษฐ์. (2535). ความเข้าใจตนเองต่อความคาดหวังการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเอง. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่. (2561). คุณลักษณะของหลักสูตรการเรียนการสอนที่ดีมีคุณภาพในระดับอุดมศึกษา: มุมมองของนักศึกษาสาขาการท่องเที่ยวและบริการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 41(3), 65 - 76.
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21 (Education and Community Development in the 21st Century). กรุงเทพฯ: เดียนสโตร์.
ประภาส ศิลปะรัศมี. (2530). ความคาดหวังในบทบาทของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนา ชนบทระดับตำบล: ศึกษาจากทัศนะของคณะทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการพัฒนาชนบทระดับตำบลและกรรมการสภาตำบล ในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ลือชา ลดาชาติ. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพสำหรับครูวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิไลลักษณ์ ลังกา. (2560). อนาคตภาพของคุณลักษณะครูไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ.2560-2569) The scenario of characteristics of Thai teachers in the next deade (A.D. 2017-2026). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ, 11(1), 36-50.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สถาบันวิจัยและพัฒนา. (2562). พลังราชภัฎสู่การพัฒนาท้องถิ่น. สกลนคร: สมศักดิ์การพิมพ์.
สิริชัย ดีเลิศ และคณะ. (2560). ความคิดสร้างสรรค์ของบัณฑิตในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีอัตลักษณ์เชิงสร้างสรรค์. WMS Journal of Management. Walailak University, 6(1), 16-25.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ.2560 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K (2011). Research methods in education. 7th ed.New York, NY: Routledge.
Creswell, J. W. (2002). Educational research: Planning, conducting, and evaluating quantitative and qualitative research. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.
Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic inquiry. Beverly Hills, CA: Sage.
Partnership for 21st Century Skills. (2007). Statement of principles: Twenty- first century skills and the reauthorization of NCLB/ESEA. Retrieved December 20, 2007, from http://www.21stcenturyskills.org/documents/nclb_memo_and_principles
_0807.pdf
Patton, M. Q. (2002). Qualitative evaluation and research methods. 3rd ed. Newbury Park, CA: Sage.
Paul, W., Richard. (1985) Bloom’s Taxonomy and Critical Thinking Instruction, Educational Leadership, 42, 36-39.
Mia Kim Williams, Teresa S. Foulger, & Keith Wetzel. (2009). Preparing preservice teachers for 21st century classrooms: Transforming attitudes and behaviors about innovative technology. Journal of Information Technology for Teacher Education, 17(3), 393-418.