การพัฒนาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง

Main Article Content

ระวินท์วิภา เถาว์ชาลี
ร่มเกล้า จันทราษี
จิรากาญจน์ ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง เสียง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 39 คน รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งจำนวน 4 แผน 2) แบบบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบ 3) แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) จากแบบบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบในขั้นที่ 5 การเขียนรายงานผลการสำรวจตรวจสอบของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง โดยจัดกลุ่มในรูปแบบร้อยละ และนำข้อมูลของนักเรียนแต่ละคนมาจัดกลุ่มระดับการอธิบายทางวิทยาศาสตร์  ผลการวิจัย พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง สามารถพัฒนาการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ โดยผู้วิจัยต้องใช้สถานการณ์ที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลประกอบสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเหตุผล โดยเลือกใช้หลักฐานได้อย่างเหมาะสมและเพียงพอต่อการเชื่อมโยงหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างครอบคลุม และนำไปสู่การอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ และยังพบว่าภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง นักเรียนมีระดับของการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นในทุกวงจรปฏิบัติการ

Article Details

บท
Article

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐวรรณ ศิริธร และเอกภูมิ จันทรขันตี. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งเพื่อพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่ [ออนไลน์]. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 130-141.

ธัญกมล ศักดิ์สูง สกนธ์ชัย ชะนูนันท์ วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิพากษ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง กรด-เบส [ออนไลน์]. วารสารชุมชนวิจัย, 13(2), 237-250.

พัณนิดา มีลา และ ร่มเกล้า อาจเดช. (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ [ออนไลน์]. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 1-15.

ภคพร อิสระ, และ อลิศรา ชูชาติ. (2558). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสืบสอบแบบมีการโต้แย้งร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีและความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(2), 249-260.

ภาวิณี จันทร์หอม. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะแบบมีการโต้แย้ง (Argument-Driven inquiry) ต่อการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรายวิชาเคมีปฏิบัติการทดลอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เมธินี ทาระวัน และ เมษา นวลศรี. (2564). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและธรณีพิบัติภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [ออนไลน์]. วารสารร้อยแก่นสาร, 6(6), 1-14.

วรัญญา จีระวิพูลวรรณ. (2563). การโต้แย้งและวิทยาศาสตร์ศึกษา [ฉบับออนไลน์]. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 8-14.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ:

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: [ม.ป.พ.].

เอกภูมิ ปาละโชติ. (2551). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 217-232.

Enderle, P., Grooms, J., & Sampson, V. (2012). Argument focused instruction and Science proficiency in middle and high school classrooms. USA.: Indianapolis.

Kant, J., Scheiter, K., & Oschatz, K. (2017). How to sequence Video modeling examples and inquiry tasks to foster scientific reasoning. Learning and Instruction, 52, 46-58.

Meedee, C. and Yuenyong, C. (2021). Redox Reaction Teaching and Learning for Enhancing Students’ Ability in Constructing Scientific Explanation through Action Research. Asia Research Network Journal of Education, 1 (3), 179-204

Meedee, C. and Yuenyong, C. (2022). Examining Senior High School Students’ Ability in Constructing Scientific Explanation of Galvanic Cell. International Journal of Science Education and Teaching, 1 (2), 96-116.