การพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์

Main Article Content

กิตติภพ คำปัน
ประเทืองสุข มณีล้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 29 คน วิธีดำเนินการวิจัยคือการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ที่ดำเนินการ 4 วงจร เพื่อเรียนรู้การพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน ได้แก่ วงจรปฏิบัติการที่ 1 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเกิดฤดูกาล, วงจรปฏิบัติการที่ 2 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเกิดข้างขึ้นและข้างแรม, วงจรปฏิบัติการที่ 3 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ และ วงจรปฏิบัติการที่ 4 การจัดการเรียนรู้เรื่องการเกิดน้ำขึ้นและน้ำลง เครื่องมือที่ใช้ตีความการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ และ 2) แบบสะท้อนผลการปฏิบัติ การเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการโดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์หลังจบแต่ละวงจรปฏิบัติการ และครูผู้สอนและผู้ร่วมวิจัยเขียนแบบสะท้อนผลการปฏิบัติ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) การจำแนกกลุ่มคำตอบของนักเรียนเพื่อประเมินทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ตามกรอบคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วยข้อกล่าวอ้าง (Claim) หลักฐาน (Evidence) การให้เหตุผล (Reasoning) โดยมีระดับทักษะแบ่งเป็น 7 ระดับ ประกอบด้วย ปรับปรุง, น้อยมาก, น้อย, พอใช้, ปานกลาง, ดี, ดีมาก 2) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ของแบบสะท้อนผลการปฏิบัติ เพื่อจัดกลุ่มประเด็นการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ผลวิจัย พบว่า ในวงจรที่ 1 และ 2 นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการสร้างคำอธิบายในระดับปานกลาง ส่วนวงจรที่ 3 และ 4 นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการสร้างคำอธิบายในระดับดี

Article Details

บท
Article

References

พัณนิดา มีลา และร่มเกล้า อาจเดช. (2560). การสืบเสาะหาความรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานและการอธิบายทางวิทยาศาสตร์: การส่งเสริมการสร้างความหมายในชั้นเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(3), 1-15

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์, ชาตรี ฝ่ายคำตา และพจนารถ สุวรรณรุจิ. (2558). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางความคิด เรื่อง โครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติของแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 97–124.

เมธินี ทาระวัน และเมษา นวลศรี. (2564). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและ ธรณีพิบัติภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(6): 20 - 33

Buckley et al. (2004). Model-Based Teaching and Learning With BioLogicaTM: What Do They Learn? How Do They Learn? How Do We Know?. Journal of Science Education and Technology, 13(1): 23 – 41

Campbell, T., Phil S. O., Maughn, M., Kiriazis, N., & Zuwallack, R. (2015). A Review of Modeling Pedagogies: Pedagogical Functions, Discursive Acts, and Technology in Modeling Instruction. Eurasia Journal of Mathematics, Science & Technology Education, 11(1), 159-176.

Gobert, J. D., and Buckley, B. C. (2000). Introduction to modelbased teaching and learning in science education.International Journal of Science Education 22: 891–894.

Kemmis, S., and R. McTaggart. 1998. The Action Research Planner. Geelong: Deakin University Press.

Ladachart, L. & Yuenyong, C. (2016). What Thai science teachers should learn from the Programme for International Student Assessment (สิ่งที่ครูวิทยาศาสตร์ไทยควรเรียนรู้จากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ). Parichart Journal, 28(2), 108-137.

Meela, P., and Yuenyong, C., (2019). The study of grade 7 mental model about properties of gas in science learning through model based inquiry (MBI). AIP Conference Proceedings. 2081, 030028-1–030028-6.

Meedee, C. and Yuenyong, C. (2021). Redox Reaction Teaching and Learning for Enhancing Students’ Ability in Constructing Scientific Explanation through Action Research. Asia Research Network Journal of Education, 1 (3), 179-204

Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) (2564). Programme for International Student Assessment (PISA), Archived from: https://www.oecd.org/pisa/

Rea-Ramirez, M. A., Clement, J., & Nunez-Oviedo, M. C. (2008). An instructional model derived from model construction and criticism theory, In J. J. Clement & M. A. Rea-Ramirez (Eds.). Model Based Learning and Instruction in Science, 2, 23-43. Netherlands: Springer.

Yuenyong, C. (2013). Enhancing Scientific Literacy in Thailand. Global Studies of Childhood, 3(1): 86 – 98

Yuenyong, C. and Narjaikaew, P. (2009). Scientific Literacy and Thailand Science Education. International Journal of Environmental and Science Education. Vol. 4 No.3 pp. 335 – 349.