การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การอ่านวรรณคดีไทย โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practice : HIP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์การอ่านวรรณคดีไทย เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practice : HIP) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองโนประชาสรรค์ จำนวน 31 คน วิธีวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการประเมินใบงานของผู้เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิบัติสู่ผลสัมฤทธิ์ขั้นสูง (High Impact Practice : HIP) เรื่องบทนำกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โดยใช้การสอนจำนวน 5 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ใน แผนการจัดการเรียนรู้ ใบงานของนักเรียน แบบประเมินใบงานบทนำกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ผลงานวิจัย พบว่า นักเรียนมีหลักการคิดวิเคราะห์ในการทำงานใบงานข้อความตรงตามแนวคิดที่กำหนด การเรียบเรียงเนื้อความส่วนมากตอบคำถามตรงประเด็น การใช้ภาษากึ่งทางการ การลำดับในการนำเสนอเขียนตอบโดยมีการตรวจสอบ ลำดับคำตอบ ด้านความคิดสร้างสรรค์นักเรียนนำข้อความในใบความรู้มาตอบโดยเกิดการสรุปและสร้างสรรค์ ดังนั้นการอภิปรายของนักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการคิดวิเคราะห์การอ่านวรรณคดีไทย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.