หลักธรรมาภิบาลกับการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน

Main Article Content

พระประเจน กรุตฺตโม
ดร.วุฒิชัย หงส์สันเที่ยะ
พ.ต.ต.ดร.รณกฤต ชาญวิชัย ชาญวิชัย

บทคัดย่อ

           บทความฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักธรรมาภิบาลกับการจัดการองค์อย่างยั่งยืนพบว่า ประการที่หนึ่ง คือ การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำงานของประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการเสริมสร้างพลังให้ประเทศไทย สามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ โดยให้ความส าคัญกับการสร้างรากฐานเศรษฐกิจและสังคมให้เข้มแข็ง รักษาความสมดุลของทุนและทรัพยากรในมิติต่าง ๆ ตลอดจนสามารถปรับตัวพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่าง รู้เท่าทัน และนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของประชาชนชาวไทย ประการที่สองคือ การจัดการองค์กรให้บังเกิดผลดีนั้น จะต้องใช้กระบวนการของงานสังคมสงเคราะห์คือ การศึกษา ปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา โดยสภาพปัจจุบัน ปัญหา ทรัพยากรความต้องการและความจ าเป็นที่จะต้องพัฒนาองค์กร โดยการมีส่วนร่วมในการดำเนินการและแบ่งงานให้รับผิดชอบ การตรวจสอบทรัพยากร ที่มีอยู่ในองค์กร รวบรวมข้อมูลและจัดระบบ วิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาต่าง ๆ โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวางแผน การดำเนินการโดยใช้กิจกรรม
ที่สามารถสนองการดำเนินงานตามแผนและโครงการที่วางไว้ โดยนำทรัพยากรต่าง ๆ ผสมผสาน กับวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิธีการ ซึ่งกันและกันหากองค์กรใดต้องการสร้างความรู้ความเข้าใจในการน าการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อการจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน ควรคำนึงถึงตัวชี้วัดทั้ง 8 ข้อได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ 2) การสนับสนุนทรัพยากร 3)จิตส านึกในการปฏิบัติและผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานในองค์กร 4) ทุนทางสังคมทรัพยากรธรรมชาติ 5) การค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหา 6) การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหา 7) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการและการติดตามและประเมินผลจากการติดตามและประเมินผล 8) การสร้างสรรค์องค์กรให้น่าอยู่ด้วยการน าหลักธรรมาภิบาล เพื่อเพิ่มเป็นนโยบายในการบริหารงานต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ