นวัตกรรมการสื่อสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองวิถีใหม่

Main Article Content

อาลี คาน

บทคัดย่อ

 การสื่อสารกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองวิถีใหม่ พบว่า กระบวนการสื่อสารทางการเมืองไทยในปัจจุบันประชาชนมิได้เป็นเพียงผู้รับสารจากแหล่งข่าว (รัฐ-สื่อมวลชน) แต่เพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป แต่ประชาชนได้มีการสื่อสารจากล่างขึ้นด้านบนภายในกรอบของสังคม เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความคิดเห็นของประชาชน ได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งปฏิกิริยาการสื่อสารของประชาชนอาจมีการแสดงออกที่มีความรุนแรงมากขึ้นตามช่องทางสื่อสารที่เปิดโอกาส เช่น การโทรศัพท์แสดงความคิดเห็นในรายการคุยข่าว การส่งจดหมาย หรือ forward mail การใช้สื่อใหม่ เช่น Facebook Line YouTube แสดงความคิดเห็นทางการเมือง หรืออาจเป็นการเดินประท้วงรวมตัวเพื่อกดดันรัฐบาล ฯลฯ การสื่อสารกับการเมืองจึงมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างใกล้ชิด การสื่อสารทางการเมืองยังต้องหาช่องทางการเข้าถึงผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด ดังนั้น นักการเมือง จึงเลือกใช้รูปแบบมาผสมผสานกัน และยังต้องคำนึงถึงความถี่ที่เหมาะสมในการใช้สื่อด้วย ในแง่มุมหนึ่ง การสื่อสารทางการเมืองโดยการนำกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งการใช้แคมเปญโฆษณา การประชาสัมพันธ์ การตลาดแบบทางตรงด้วยการอาศัยหาเสียง หรือเดินพบปะประชาชนรวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ของพรรค (brand image) นั้น แสดงถึงบูรณาการทางการเมืองที่ได้มีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดและสื่อหลาย ๆ แขนงมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเมืองให้มากที่สุด ทำให้พรรคการเมืองต่าง ๆ พยายามนำเสนอข้อมูลข่าวสาร นั่นก็คือ การนำเสนอผู้สมัครและการสร้าง การสื่อสารทางการเมืองโดยอาศัยการสื่อสารการตลาดเป็นเครื่องมือในการหาเสียงเพื่อ ให้ชนะเลือกตั้ง

Article Details

บท
บทความวิชาการ