มานุษยวิทยากับการวิจัยเพื่อพัฒนา

Main Article Content

ปรีชา อุปโยคิน

Abstract

มานุษยวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อค้นหาความจริงของสังคม ผ่านทางกระบวนการวิจัยที่ชัดเจน ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ การนำเอาแนวคิดและทฤษฏีทางมานุษยวิทยาไปใช้เป็นแนวทางศึกษาพฤติกรรมมนุษย์และสังคม จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกับสาขาวิชาอื่นๆ ในการมองประเด็นและปัญหาได้จากหลายๆ มิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง การศึกษา ศาสนา การแพทย์ และสาธารณสุข นอกจากการใช้แนวคิดและแนวทางด้านมานุษยวิทยาในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงการศึกษาเพื่อกำหนดนโยบาย ซึ่งอาศัยความรอบรู้ ความเชี่ยวชาญของนักมานุษยวิทยาที่เป็นเครื่องมือที่สำคัญ จะสามารถเข้าถึงปัญหาได้อย่างลึกซึ้งโดยเฉพาะการใช้ขับเคลื่อนการพัฒนา มานุษยวิทยามีจุดเด่นที่เสนอข้อมูลที่ผู้บริหารและนักพัฒนาต้องการ ในจำนวนผลงานทางมานุษยวิทยาหลายเรื่องเป็นการวิจัยเพื่อนำผลไปพัฒนาการเกษตร การพัฒนากำลังคนในชนบท ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษา การแพทย์พื้นบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ด้วยเหตุผลนี้บทบาทของนักมานุษยวิทยาจะกลายเป็นผู้ไขปัญหาและเข้าไปอยู่ในกลไกของกระบวนการพัฒนาโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงประยุกต์เพื่อการนำไปใช้ได้จริง

Article Details

How to Cite
อุปโยคิน ป. (2015). มานุษยวิทยากับการวิจัยเพื่อพัฒนา. Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 4(1), 163–195. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/view/241370
Section
Academic article