ศูนย์ศึกษากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเปรียบเทียบกับ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (3 เสา)

Main Article Content

วรรณชัย บุญบำรุง

Abstract

ในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นสังคมแบบโลกาภิวัฒน์ ผู้คนได้มีการติดต่อการค้ากันหรือผูกนิติสัมพันธ์กันในด้านต่างๆ อย่างไร้พรหมแดนมากขึ้น รวมทั้งประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของโลกได้รวมตัวกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ไม่ว่าจะเป็นสหภาพยุโรปซึ่งได้ร่วมมือกันในด้านเศรษฐกิจจนปัจจุบันได้พัฒนากลายเป็นตลาดร่วมยุโรป หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งจะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ. 2558 จากสภาพการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มีการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลมากขึ้น แต่เนื่องจากกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกันมาก แม้จะเป็นกลุ่มประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์หรือระบบกฎหมายซีวิลลอว์ อย่างเดียวกันก็ตาม โดยเป็นผลมาจากประวัติศาสตร์ทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ ตลอดจนประเพณีและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ความแตกต่างกันดังกล่าวส่งผลประทบทำให้เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการรวมตัวกันดังกล่าว เช่นเดียวกับปัญหาที่กฎหมายสารบัญญัติในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ปัจจัยหนึ่งในการที่จะทำให้การร่วมมือกันดังกล่าวเกิดประสิทธิภาพได้ ก็คือมีความจำเป็นที่สมาชิกแต่ละประเทศต้องแก้ไขระบบกฎหมายภายใน รวมทั้งกฎหมายวิธีพิจารณาความในศาลของตนให้ใกล้เคียงกัน เพราะหากประเทศสมาชิกต่างมีระบบกฎหมายในเรื่องดังกล่าวที่แตกต่างกันมากแล้วก็จะมีผลกระทบโดยตรงเป็นอย่างมากต่อการประกอบการค้าภายในประเทศสมาชิก ทั้งในเรื่องหลักประกันสิทธิในการต่อสู้คดีของคู่ความที่เป็นนักธุรกิจในกลุ่มประเทศสมาชิกหรือเรื่องประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมในแต่ละประเทศ เนื่องจากศาลในแต่ละประเทศนั้นแม้ว่าจะสามารถนำกฎหมายสารบัญญัติของประเทศอื่นมาใช้บังคับกับคดีได้ซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล แต่จะไม่นำกฎหมายเกี่ยวกับศาลและกฎหมายวิธี สบัญญัติหรือกฎหมายวิธีพิจารณาความของประเทศอื่นมาใช้โดยเด็ดขาด
จากความสำคัญของปัจจัยเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งดังกล่าว ผู้เขียนจึงขอนำเสนอความพยายามที่แก้ไขปัญหาดังกล่าวคือ (1) การดำเนินการของสหภาพยุโรปและสถาบันกฎหมายเปรียบเทียบ จากนั้นจะได้กล่าวถึง (2) พันธกรณียุทธศาสตร์ แผนแม่บท ความร่วมมือ และการดำเนินการต่างๆ ในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการก่อตั้ง (3) ศูนย์ศึกษากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเปรียบเทียบ ขึ้นในสำนักกฎหมายต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

Article Details

How to Cite
บุญบำรุง ว. (2012). ศูนย์ศึกษากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเปรียบเทียบกับ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (3 เสา). Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 1(2), 43–56. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/MFUconnexion/article/view/241420
Section
Academic article