รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital Disruption สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital Disruption สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา (2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital Disruption สำหรับโรงเรียนประถมศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ (3) สร้างและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital Disruption สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา เป็นการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed method research) มีการดำเนินงาน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1
การวิจัยเชิงปริมาณ สังเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม คือ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีสอดคล้องกันตามวัตถุประสงค์ (IOC) เท่ากับ 0.7 และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.894 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 จำนวน 345 คน จาการสุ่มหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป M-Plus 7.0 และระยะที่ 2 การวิจัยชิงคุณภาพ โดยร่างรูปแบบจากการศึกษาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันในระยะที่ 1 จากนั้นจึงมีการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อยกร่างรูปแบบ และประเมินรูปแบบ ด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital Disruption มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (2) การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (3) การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรแบบผสมผสาน (4) การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (5) การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ และ (6) อาชีวอนามัยและความปลอดภัย รวมจำนวน 17 ตัวบ่งชี้
โมเดลองค์ประกอบของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital Disruption สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งมีค่า x^2=1.20973, Df=100, P-Value=0.0754, RMSEA=0.025, SRMR=0.034, CFI=0.989 และ TLI=0.985 โดยองค์ประกอบในรูปคะแนนมาตรฐานที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor loading) ตั้งแต่ 0.762–0.963 ซึ่งองค์ประกอบที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดอันดับแรก คือ การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ รองลงมาคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และลำดับสุดท้ายคือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์
รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค Digital Disruption สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ประกอบไปด้วย ชื่อรูปแบบ หลักการและแนวคิดของรูปแบบ วัตถุประสงค์ เป้าหมายสู่ความสำเร็จ และแนวทางปฏิบัติ ซึ่งมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Copyright
Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences has an exclusive right to publish the accepted articles in any form. However, the author retains the following rights:
1. The right to the ownership of the article;
2. The right to use all or part of the article in his/her other works;
3. The right to re-produce the article for personal use or for use in the author’s organisation, in which case the author must obtain permission from Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences;
4. The right to make copies of all or part of the work for educational use or for the author’s use in classroom teaching; and
5. The right to include the work (both the preprinted and printed versions) in an institutional repository.
References
Fenech, R., Baguant, P., & Ivanov, D. (2019) The changing role of human resource management in an era of digital transformation, Journal of Management Information and Decision Science, vol. 22, no. 2, pp. 166-175.
Hair, J. F., Black. W. C., & Babin, B. J. (2010) Mutivariate data analysis: A global perspective, Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Keeves, J. P. (1997) Educational research, methodology and measurement: An international handbook, 2nd edition, New York: Pergamon.
Ketima, L. (2018) Driving the human resources management strategy of Phap Phra Wittayakom School Under the Office of Secondary Education Service Area, District 8 (การขับเคลื่อนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลของโรงเรียนพบพระวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8), Journal of Education, vol. 19, no. 1, pp. 174-177. (in Thai)
Khetchuturat, C. (2016) Value-added measure: An alternative method to measure the quality of education (การวัดมูลค่าเพิ่ม: วิธีการทางเลือกในการวัดคุณภาพการศึกษา), Journal of Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, vol. 32, no. 4, pp. 1-12. (in Thai)
Khonkarn, S. (2004) Development of indicators of state higher education institutions (การพัฒนาตัวบ่งชี้ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ), Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)
Malisuwan, S. (2016) Social network (เครือข่ายสังคม), Available: http://www.vcharkarn.com/varicle/40698/เครือข่ายสังคม/ [27 July 2016] (in Thai)
Munkhong, W. (2016) Human resources administration to develop learning management quality of schools under the Secondary Education Service Area Office 40 (การบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40), Journal of Teacher’s Professional Development, vol. 115, no. 6, pp. 62-64. (in Thai)
Munro, B. (2001) Statistical method for health care research, Philadelphia, PA: Lippincott.
Nunnally, J. C. (1978) Psychometric theory, New York: McGraw-Hill Book.
Phaopat, N. (2021) Opportunities and challenges in the post Covid-19 era with management and development sustainable human resources (โอกาสและความท้าทายในยุคหลังโควิด-19 กับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน), Manpower Potential Development Institute Journal for Eastern Economic Corridor, vol. 1, no. 1, pp. 24-41. (in Thai)
Phoonphol, K. (2018) Towards a new direction in the world: DeFi (การไปสู่ทิศทางใหม่ของโลก DeFi), Available: https://www.theeleader.com/news-enterprise/how-to-education-disruption-future-education-thailand/การไปสู่ทิศทางใหม่ของโลก DeFi/ [27 July 2016] (in Thai)
Reukkhum, S. (2021) Strategic staffing in an era of disruption (การจัดหาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ในยุคพลิกผัน), Bangkok: Chulalongkorn University Printing. (in Thai)
Rohitsathien, B. (2020) Educational human resource management model in line with the Digital Disruption era according to the Ministry of Education's educational management policy, fiscal year 2021-2022 (รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาให้สอดคล้องกับยุค Digital Disruption ตามนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565), Available: https://www.moe.go.th/ [27 July 2016] (in Thai)
Srisa-ard, B. (2013) Preliminary research principles (การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่), 9th edition, Bangkok: Suviriyasarn.
Siribunnaphituk, P. (2018) A new paradigm of educational administration (กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารการศึกษา), Available: http://www.sammajivasil.net/news11.htm/กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารการศึกษา/ [28 July 2016] (in Thai)
The Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2. (2021) Memorandum of Understanding: MOU (บันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2564), Chaiyaphum: The Office of Chaiyaphum Primary Educational Service Area 2. (in Thai)
Tirakanon, S. (2008) Multivariate analysis in social science research (การวิเคราะห์ตัวแปรพหุในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์), Bangkok: Chulalongkorn University printing. (in Thai)
Wirachchai, N. (2002) Reform process to improve learning quality: Assessment and insurance (กระบวนการปฏิรูปเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้: การประเมินและการประกัน), Bangkok: VCT Communication Printing. (in Thai)