ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรีส่งผลต่อการพัฒนาสายรัดข้อมืออัจฉริยะของบริษัท ABC

ผู้แต่ง

  • ชุติมณฑน์ มีสะอาด
  • ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2020.2

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, ส่วนประสมทางการตลาด, สายรัดข้อมืออัจฉริยะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสายรัดข้อมืออัจฉริยะในกลุ่มชาวต่างชาติ ที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสายรัดข้อมืออัจฉริยะในกลุ่มชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี การวิจัยครั้งนี้ครอบคลุมเนื้อหาจากผู้ให้ข้อมูล คือ กลุ่มชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 8 ท่าน และผู้ตอบแบบสอบถามชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 400 ท่าน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์ และรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาทำการวิเคราะห์โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ จรรยาบรรณของนักวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากตำรา และการขอคำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย เพื่อให้เข้าใจถึงระเบียบวิธีวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการสอนโดยใช้ภาษาต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านพฤติกรรมการบริโภค ในด้านความต้องการซื้อ การเลือกซื้อ ผู้มีส่วนร่วมในการซื้อและสถานที่ในการซื้อสายรัดข้อมืออัจฉริยะในกลุ่มชาวต่างชาติ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาสายรัดข้อมืออัจฉริยะ แตกต่างกัน ทั้งปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขายของสายรัดข้อมืออัจฉริยะในกลุ่มชาวต่างชาติ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาสายรัดข้อมืออัจฉริยะ แตกต่างกัน ในภาพรวมผู้วิจัยพบว่า ปัจจัยในหลาย ๆ ด้านส่งผลต่อการพัฒนาสายรัดข้อมืออัจฉริยะ ดังนั้นจึงควรจะต้องมีการปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านความปลอดภัย อุบัติเหตุและสุขภาพ อีกทั้งยังมีคุณลักษณะที่ยังไม่ถูกคิดค้นในขณะนี้ เช่น การแจ้งเตือนเรื่องสภาพอากาศหรือการจราจร เป็นต้น การให้บริการของสายรัดข้อมืออัจฉริยะควรสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค อีกทั้งควรที่จะพัฒนาระบบให้มีความหลากหลายครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการ และควรมีการพัฒนาคุณภาพในการรักษาอย่างต่อเนื่อง

References

กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์. (2557, มิถุนายน 30). เช็กเรตติ้งคนไทย ใช้ชีวิตฟิตแค่ไหน. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/447109

กันต์กนิษฐ์ วงศ์บวรลักษณ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กิตติ สิริพัลลภ (2546, กรกฎาคม 23). 4Ps 4Cs และ 4Fs: การตลาดแบบไทย ๆ สืบค้นจาก http://www.bus.tu.ac.th/usr/kitti/4p.doc

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559, กรกฎาคม 23).“ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน”…ประชาชนต้องการจากภาครัฐมากที่สุด. สืบค้นจาก http://bangkok-today.com/web/ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน/

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย สันติวงษ์. (2545). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุษบา วงษา. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร และคุณลักษณะของผู้นำเสนอสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนของนักท่องเที่ยวต่างชาติในจังหวัดพิษณุโลก. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรพิศ พูนศรีสวัสดิ์. (2554). พฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ส่งผลต่อการประกอบการของร้านอาหารในถนนข้าวสาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิษนุ อภิสมาจารโยธิน. (2559). ประชากรและการอนามัยเจริญพันธุ์. คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยบูรพา. (2017, มกราคม 10). โครงการนำร่อง Smart living and safety สำหรับเมืองอัจฉริยะ ปีที่ 1. สืบค้นจาก https://www.facebook.com/notes/โครงการ-smart-living-safetyสำหรับเมืองอัจฉริยะ/โครงการนำร่อง-smart-living-safety-สำหรับเมืองอัจฉริยะ-ปีที่-/382654265512244/.

มิ่งขวัญ ศรีทอง. (2558). ทัศนคติและปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออุปกรณ์สวมใส่ (Wearable Device) ในรูปแบบสายรัดข้อมือของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รสสุคนธ์ แซ่เฮีย. (2558). ปัจจัยพฤติกรรมการใช้บริการโรงแรม คุณภาพการบริการ ส่วนผสมการตลาดบริการ และคุณค่าตราสินค้าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงแรมระดับห้าดาวแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒิ สุขเจริญ. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค (CONSUMER BEHAVIOR). (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

ศศิโสม ดวงรักษา. (2558). เปรียบเทียบปัจจัยและพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ในเขตเมืองพัทยาจังหวัด ชลบุรี. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุชาดา หวังมวนกลาง. (2551). พฤติกรรมการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในการซื้อสินค้าที่ตลาดน้ำ 4 ภาค (พัทยา). (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สโรจ เลาหศิริ. (2560, กรกฎาคม 23). 8 เทรนด์การตลาดและโฆษณาของไทยที่จะเกิดแน่ ๆ ในปี 2018. สืบค้นจาก https://thestandard.co/8-marketing-and-advertising-trends-2018/

โสภิศตา สุกก่ำ. (2552). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดต่อการเลือกใช้บริการสปาไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2560, มิถุนายน 3). สถิติการขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของคนต่างด้าวรายหน่วยงาน. สืบค้นจาก https://www.immigration.go.th/immigration_stats

หรูหรี่ หม่า. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้านค้าปลอดอากรคิงเพาเวอร์ของนักท่องเที่ยวชาวจีน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.

Goldstein, A.H. 1986. Bacterial Solubilization of Microbial Phosphates: A Historical Perspective and Future Prospects. Am. J. Altern. Agric,1, 51–57.

Hoyer, W. D. & MacInnis, D. J. (2553). Consumer Behavior. Ohio: South-Western Cengage Learning.

Jim Blythe. (2008). Consumer Behaviour. London: Thomson Learning.

Komchadluek. (2559). เปิดทำเล‘ต่างชาติ’ปักหลักอยู่อาศัย. วันที่ค้นข้อมูล 15 มกราคม 2560, สืบค้นจาก http://www.komchadluek.net/news/economic/237246.

Marketingoops. (2017, มกราคม 10). เจาะลึกพฤติกรรมนักท่องเที่ยวยุโรป พร้อม Insight สำคัญที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้. วันที่ค้นข้อมูล 10 2560, สืบค้นจาก https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/travel-insight-europe.

Schiffman, Leon G., & Kanuk, Leslie L. (2007). Consumer Behavior. (9th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Smart living. (2017, มกราคม 10). มารู้จักกับกรณีศึกษาแรกของโครงการ Smart Living: สายรัดข้อมืออัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ (Smart Wristband for Elder). สืบค้นจาก https://smartcity.kmitl.io/smart-living-smart-wrist-band-activity/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-10

How to Cite

มีสะอาด ช., & จันทร์เรือง ศ. (2021). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรีส่งผลต่อการพัฒนาสายรัดข้อมืออัจฉริยะของบริษัท ABC. Maejo Business Review, 2(1), 18–34. https://doi.org/10.14456/mjba.2020.2