ผลกระทบของทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงาน ของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชี จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2020.5คำสำคัญ:
ความสำเร็จในการทำงาน, ทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานในสำนักงานบริการด้านบัญชีจังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทำบัญชีสำนักงานบริการจัดทำบัญชี จำนวน 67 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย
ผลการศึกษาพบว่าทักษะของนักบัญชียุคดิจิทัลด้านทักษะด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน ทักษะด้านการปรับตัว ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ และทักษะด้านการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องมีผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ทำบัญชี
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2562, มกราคม 20) กรมพัฒน์ฯ พลิกโฉมสำนักงานบัญชีไทยสู่ Digital Firm สืบค้นจาก https://dbd.go.th/ewt_news.php?nid=469404627&filename=index
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2562, มกราคม 20) การจดทะเบียนธุรกิจ. ประจำเดือนกรกฎาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469415870
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (2562, มกราคม 20) สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลรายจังหวัด. ประจำเดือนธันวาคม 2562 สืบค้นจาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1459
จีรพัตร นพรัตน์. (2560). อิทธิพลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการเบิกจ่ายเงินในระบบ GFMIS ของกองทัพภาคที่ 3. การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ฐิติรัตน์ มีมาก, อภิชาต บุญเกิด, รัฐวุฒิ โพธิกำจร, ประภัสสร ตันติพันธวดี, สกลเกียรติ สังวรกิตติวุฒิ, และรัชนีกร จันทิมิ (2560). ผลกระทบของจรรยาบรรณของนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 3(1), 150-164,
ณัฏฐณิชา คล้ายแก้ว. (2561). ผลกระทบสมรรถนะของผู้สอบบัญชีและการบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ธนิศร์ วินิจสร (2562) ปรับมุมมองส่องโลกดิจิทัล. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 83 (Nov), 8-9.
นันทวรรณ บุญช่วย (2563) ยุคพลิกผันทางเทคโนโลยีกับการพัฒนานักบัญชีนวัตกร. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(1), 15-26.
นิศาชล รัตนมณี. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ. Journal of Humanities and Social Sciences, Thonburi University. 18(1), 181-188
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์ (2561) ผลกระทบของสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเปิดเสรีทางการเศรษฐกิจ. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(1), 58-72.
ประภาพร วีระสอน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ประสัณห์ เชื้อพานิช (2560) บทบาทนักบัญชีในยุค Digital Transformation. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 72(2), 18.
พรรณี วรวุฒิจงสถิต (2561) การประกอบธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ 67(2), 10-11.
พลอยรวี จันทร์ประสิทธิ์, ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ, และศุทธินี ปราชญ์ศรีภูมิ. (2557). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทสำรวจปิโตรเลียมในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 33(2), 281-291.
พิชัย ชุณหวชิร (2561) ก้าวสู่นักบัญชี แห่งโลกอนาคต. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 71, (Nov) 19.
ราชิต ไชยรัตน์ (2563) บทบาทนักบัญชีในโลกอนาคต…จากนักบัญชีสู่ นักบัญชีนวัตกร. สืบค้นจาก https://www.accrevo.com/articles/item/58
สนทนา สุขใจ และ ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล (2562) การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2019” สืบค้นจาก http://journalgrad.ssru.ac.th/index.php/miniconference/article/view/2086
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ (2563, มีนาคม 26) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, สืบค้นจาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/77007
สรัชนุช บุญวุฒิ และ ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน (2559) การศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 9(1) 167-177.
Aaker, D. A., Kumar, V. and Day, G. S. (2001). Marketing Research. New York: John Wiley and Sons.
Hair, J. F. and others. (2006). Multivariate Data Analysis. (6thed). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Nunnally, J. C., and I. H. Bernstein. (1994). Psychometric Theory. New York: McGraw-Hill.
Armstong.J. Scott & Overton, Terry S. (1977). Estimating nonresponse bias in mail surveys. Journal of Marketing Research, 14, 396-402.