ความตระหนักเรื่องสุขภาพและทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันสุขภาพ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2022.2

คำสำคัญ:

ความตั้งใจซื้อ, ความตระหนักเรื่องสุขภาพ, ทัศนคติต่อประกันสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลของความตระหนักเรื่องสุขภาพและทัศนคติต่อประกันสุขภาพที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ตัวแปรเพศในฐานะเป็นตัวแปรกำกับ ประชากรการวิจัยคือผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครที่เคยซื้อหรือสนใจจะซื้อกรมธรรม์ประกันสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบสะดวกจำนวน 200 คน ใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยงที่มีค่าความเชื่อถือได้ในช่วง .75 - .78 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิงและเพศชายมีจำนวนพอ ๆ กัน กลุ่มอายุ 36 - 45 ปี ปริญญาตรี ลูกจ้างองค์กรเอกชน และรายได้ส่วนตัวเฉลี่ยต่อเดือน 45,001 บาทขึ้นไปมีจำนวนมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักเรื่องสุขภาพและมีทัศนคติเชิงบวกต่อประกันสุขภาพค่อนข้างมากและมีความตั้งใจซื้อประกันสุขภาพในระดับสูง ผลการตรวจสอบสมมติฐานพบว่าความตระหนักเรื่องสุขภาพของผู้บริโภคและทัศนคติของผู้บริโภคต่อประกันสุขภาพส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อประกันสุขภาพ และเพศเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระทั้งสองต่อความตั้งใจซื้อประกันสุขภาพโดยมีผลในการเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลต่อตัวแปรตามและอำนาจการอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรตาม งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะด้านการเลือกกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดและการสื่อสารการตลาดที่มุ่งกลุ่มผู้ตระหนักเรื่องสุขภาพ

References

ดีเดย์ประกันสุขภาพใหม่ คปภ. ขีดเส้นเริ่มใช้ 8 พฤศจิกายนนี้. ประชาชาติธุรกิจ. (2564, 9 พฤศจิกายน). : https://prachachat.net/finance/news-794447.

นงลักษณ์ วิรัชชัย (2553). หน่วยที่ 10 สถิติวิเคราะห์เชิงปริมาณ: สถิติบรรยายและสถิติพาราเมตริก. ในประมวลเอกสารการสอนชุดวิชา 21701 การวิจัยหลักสูตรและการเรียนการสอน หน่วยที่ 12-15. (พิมพ์ครั้งที่ 3, หน้า 161). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นลินรัตน์ ทับไทร. (2562). การรับรู้ข่าวสาร ความต้องการ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อการประกันสุขภาพส่วนบุคคลของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.

มนตรี พิริยะกุล. (2558) ตัวแปรกำกับและตัวแปรคั่นกลางในตัวแบบสมการโครงสร้าง. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. 11(3), 83-96.

Ahadzadeh, A.S., Pahlevan Sharif, S. & Sim Ong, F. (2018), Online health information seeking among women: the moderating role of health consciousness. Online Information Review, (42)1, 58-72. https://doi.org/10.1108/OIR-02-2016-0066

Ajzen, I. (2008). Consumer attitudes and behavior. In C. P. Haugtvedt, P. M. Herr, & F. R. Kardes (Eds.), Handbook of consumer psychology (pp. 525–548). Taylor & Francis Group/Lawrence Erlbaum Associates.

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1977). Attitude-behavior relations: A theoretical analysis and review of empirical research. Psychological Bulletin, 84(5), 888.

Bravo G., & Potvin, L. (1991). Estimating the reliability of continuous measures with Cronbach’s alpha or the interclass correlation coefficient: Toward the integration of two traditions. J. Clin. Epidemiol. 44, 381-390.

Caruana, A. (2002), Service loyalty: the effects of service quality and the mediating role of customer satisfaction. European Journal of Marketing, 36, 811-828.

Chen, M.F. (2011), The joint moderating effect of health consciousness and healthy lifestyle on consumers’ willingness to use functional foods in Taiwan. Appetite, 57(1), 253-262.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. (3rd Ed.). John Wiley & Sons.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. Lawrence Erlbaum Associates.

Hidayat, S., Wibowo, W., Gunawan, Y. L., Dewi, G. C., & Wijayaningtyas, M. (2021). Factors influencing purchase intention of healthcare products during the COVID-19 pandemic: An empirical study in Indonesia. Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(6). 337-345.

Hoque, M. Z., Alam, M., & Nahid, K. A. (2018). Health consciousness and its effect on perceived knowledge, and belief in the purchase intent of liquid milk: Consumer insights from an emerging market. Foods, 7(9), 150.

Jayaraman, K., Alesa, N., & Azeema, N. (2017). Factors influencing the purchase intention of health insurance policy-an empirical study in Malaysia. International Journal of Economic Research, (14), 1-13.

Kumari, S.S.S. (2008). ‘Multicollinearity: estimation and elimination. Journal of Contemporary Research in Management. (3)1, 87-95.

Ladhari, R. (2009), Service quality, emotional satisfaction, and behavioural intentions: a study in the hotel industry, Managing Service Quality, 19(3), 308-331.

Mamun, A. A., Rahman, M. K., Munikrishnan, U. T., & Permarupan, P. Y. (2021). Predicting the Intention and Purchase of Health Insurance Among Malaysian Working Adults. SAGE Open, 11(4), 613-73.

Nagaraj, S. (2021). Role of consumer health consciousness, food safety & attitude on organic food purchase in emerging market: A serial mediation model. Journal of Retailing and Consumer Services, 59, 102423.

Olayemi, S. O. O., & Bolanle, A. O. (2020). Performance of Small and Medium Enterprises in Ondo State, Nigeria: Does Application of Information and Communication Technology Make a Difference?. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 10(3), 749-760.

Ratnasari, R. T., Gunawan, S., Bin Abu Talib, J., Herianingrum, S., Widiastuti, T., & Septiarini, D. F. (2020). The moderating effects of gender between patient intimacy, trust, and loyalty. International Journal of Innovation, Creativity and Change, 12(10), 1-16.

Tran, T. A., Pham, N. T., Pham, K. V., & Nguyen, L. C. T. (2020). The roles of health consciousness and service quality toward customer purchase decision. The Journal of Asian Finance, Economics, and Business, 7(8), 345-351.

Wassenaar, A., Kempen, E., & van Eeden, T. (2019). Exploring South African consumers’ attitudes towards game meat-Utilizing a multi‐attribute attitude model. International Journal of Consumer Studies, 43(5), 437-445.

You, C. H., & Kwon, Y. D. (2020). Gender differences in factors affecting purchase of indemnity private health insurance and impact of indemnity private health insurance on healthcare use: Korea health panel survey data from 2010 to 2016. The Journal of the Korea Contents Association, 20(3), 92-105.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

How to Cite

เที่ยงธรรม ศ. เ. (2022). ความตระหนักเรื่องสุขภาพและทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อประกันสุขภาพ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. Maejo Business Review, 4(1), 23–40. https://doi.org/10.14456/mjba.2022.2