ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดเทศกาลงานข้าวหอมมะลิโลก จังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 21

ผู้แต่ง

  • อินทร์ อินอุ่นโชติ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุริยาวุธ ธรณี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชุลีพร อัศวภูมิ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุดารัตน์ จูมศรี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • อรรถพล ฝากาบน คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

DOI:

https://doi.org/10.14456/mjba.2022.3

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก, นักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษา ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดเทศกาลงานข้าวหอมมะลิโลก จังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 21 โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยว  จำนวน 400 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test (ANOVA/MANOVA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการจัดเทศกาลข้าวหอมมะลิโลกครั้งที่ 21 โดยรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการจัดจำหน่ายสินค้า ด้านปัจจัยการผลิตและเครื่องมือการเกษตร และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านประโยชน์การจัดงาน และด้านสถานที่ และด้านการจัดงาน/กิจกรรม 2) นักท่องเที่ยวที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีความพึงพอใจในการจัดเทศกาลข้าวหอมมะลิโลกครั้งที่ 21 โดยรวม ด้านการจัดงาน/กิจกรรม ด้านการจัดจำหน่ายสินค้า ด้านปัจจัยการผลิตและเครื่องมือการเกษตร ด้านประโยชน์การจัดงาน ด้านสถานที่ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

จันทร์เพ็ญ ตูเทศานันท์. (2563, มีนาคม 20) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการดำเนินงานของสถานธนานุบาลเทศบาลในประเทศไทย. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=

จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2564). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐานเศรษฐกิจ. (2565, มีนาคม 11) สรุปภาวะเศรษฐกิจกับการเปิดประเภทอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. https://www.thansettakij.com/category/business/tourism

ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์. (2565, มกราคม 11) มาตรการสาธารณสุขกับการท่องเที่ยวอย่างเคร่งครัด (Covid Free 5. Event). https://mgronline.com/travel/detail/9650000011002

นพพงศ์ เกิดเงิน, สุทธาทิพย์ กำธรพิพัฒนกุล และนรินทร สมทอง. (2564). ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการสั่งซื้ออาหารแบบออนไลน์เดลิเวอรีของผู้ใช้บริการในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้. 3(2), 1-19.

ปนัสยา สิระรุ่งโรจน์กนก. (2559). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการจัดการ โลจิสติกส์การท่องเที่ยว กรณีศึกษา ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.]

ภาสกร รอดแผลง. (2564). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกใช้ปุ๋ยในนาข้าวของเกษตรกร กรณีศึกษา เฉพาะเกษตรกรในจังหวัดสิงห์บุรี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.]

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2559). พลวัตการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานเพื่อตอบสนองผู้ร่วมงานอย่างมีประสิทธิภาพ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2562). การบริหารจัดการการจัดนิทรรศการผ่านหน่วยงาน. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ยุทธศักดิ์ สุภสร, (2565, มกราคม 11). ททท. ชวนเที่ยวงาน “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย ครั้งที่ 40 ประจำปี 2565” พลิกโฉมท่องเที่ยวเปิดประสบการณ์ กระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ เน้นมาตรการความปลอดภัย Covid Free Event. https://www.thailandplus.tv/archives/476255

วิฑูร แจ่มจำรัส (2562). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวสเปนต่อการท่องเที่ยวปางช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.]

สนอง ดลประสิทธิ์. (2565). ข้อมูลเทศกาลข้าวหอมมะลิโลกครั้งที่ 21. สำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด.

หทัยรัตน์ ประทุมสูตร. (2562, กุมภาพันธ์ 13). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลโรงพยาบาลจังหวัดพิษณุโลก. https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=

อรชร มณีสงฆ์. (2562). ความพึงพอใจต่อบรรยากาศการตลาดกับความตั้งใจในการมาซ้ำของผู้มาเยือนแหล่งท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวนานาชาติ. 14(1), 36-54.

Alernvisal, Kaewjamnong. (2008). Appropriate Marketing of Venue for MICE Industry in Thailand. [Docteral Degree, Maejo University].

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). John Wiley & Sons.

Kajornnan, Nattaphan. (2009). Strategic Management. (New edition). Se-ed.

Middleton, A. (2009). “London: the walkable city in Regenerating London: Governance, Sustainability and Community in a Global City Eds Imrie, 2(4), 174–192.

Nunnally, J.C. (1978). Psychometric Theory. (2nd ed.) McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

How to Cite

อินอุ่นโชติ อ., ธรณี ส., อัศวภูมิ ช., จูมศรี ส., & ฝากาบน อ. (2022). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดเทศกาลงานข้าวหอมมะลิโลก จังหวัดร้อยเอ็ด ครั้งที่ 21. Maejo Business Review, 4(1), 41–56. https://doi.org/10.14456/mjba.2022.3