ความรู้ความเข้าใจ และความคิดเห็นของผู้เสียภาษีและเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2023.10คำสำคัญ:
ความรู้ความเข้าใจ, เจ้าหน้าที่รัฐ, ผู้เสียภาษี, ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจ ความคิดเห็น และปัญหาของผู้เสียภาษี และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ 2) เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 393 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้การวิเคราะห์ประกอบด้วย t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษา พบว่า ผู้เสียภาษีมีความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เจ้าหน้าที่รัฐมีความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นระดับปัญหาของผู้เสียภาษีที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหาของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีต่อภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพบว่า ผู้เสียภาษีที่มีระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อความรู้ความเข้าใจในภาษีที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้างแตกต่างกัน และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอายุ ระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการจัดเก็บภาษีแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
References
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2564). ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. https://info.dla.go.th/eForm/abtData.do
กรุณา สุวรรณคำ. (2562). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานสรรพากรพื้นที่สมุทรปราการ 1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154652.pdf
จรัญ ซาตัน. (2559). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. มหาวิทยาลัยสยาม.
ชวฤทธิ์ โยศรีคุณ. (2562). หน้าที่ของประชาชนในการชำระภาษีอากร. วารสารการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ วิทยาลัยนครราชสีมา, 1/2562, 135-141.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุวีริยาสาส์น.
พวงแก้ว แสงบุญเรือง. (2558). การพัฒนาชุดฝึกอบรมที่เหมาะสมกับการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบล กรณีศึกษาตำบลแม่แจ่ม อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. พิฆเนศวร์สาร, 11(1), 125.
ภารดี เทพคายน. (2564). การศึกษาระดับการรับรู้ และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. https://www.km.nida.ac.th/th/images/PDF/research/paradeere164.pdf
สุบิน พุทโสม. (2562). การศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและทัศนคติเกี่ยวกับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลมวกเหล็ก อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี 2562, 315-329. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol10No1_31.pdf
สุภาภรณ์ ตะวันใกล้รุ่ง. (2562). สถานการณ์ด้านความรู้ความเข้าใจของประชาชนอันมีผลต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.ba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/483.ru
สุเมธ ศิริคุณโชติ. (2565). ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 2565. ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉราพร ปะทิ. (2559). ความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นของประชาชนต่อการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง: กรณีศึกษาประชาชนในตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5705037082_4989_4009.pdf
Aaker, D. A., Kumar, V. & Day, G. S. (2001). Marketing research. John Wiley & Son.
Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Prentice-Hall.
Hair, J., Black, W., Babin, B. & Anderson, R. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Pearson Education International.
Yamane, Taro (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed). Harper and Row Publications.