ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจของผู้ประกอบการในการใช้งานระบบ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดพิษณุโลก
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2023.2คำสำคัญ:
ความตั้งใจในการใช้งานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์, ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์, ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบการนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดพิษณุโลกที่มีต่อความตั้งใจใช้งานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความตั้งใจใช้งานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามปัจจัยลักษณะกิจการ ได้แก่ ขนาดและประเภทของกิจการ และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านความปลอดภัยของระบบ ปัจจัยในความรวดเร็วของการปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ที่มีผลต่อความตั้งใจใช้งานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยกลุ่มตัวอย่างคือประชากรทั้งหมดที่ต้องการศึกษา จำนวน 250 ราย สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดพิษณุโลกมีระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจในการนำระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกิจการของตนเองมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านความปลอดภัยของระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจัยด้านความรวดเร็วในการปฏิบัติงานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 2) ความแตกต่างของขนาดกิจการ ด้านปัจจัยการจ้างแรงงานของผู้ประกอบการนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดพิษณุโลกที่มีความแตกต่างกัน ทำให้ความตั้งใจของผู้ประกอบการในการนำระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกิจการแตกต่างกัน โดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว มีค่า p-value เท่ากับ .000 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจใช้งานในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในจังหวัดพิษณุโลก ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
References
กันยา มั่นคง. (2561). องค์ประกอบของการยอมรับระบบบริการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) ของผู้ประกอบการในจังหวัดกำแพงเพชร. [สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
กรมประชาสัมพันธ์. (2564). ข่าวสารภาครัฐ. กรมประชาสัมพันธ์. https://prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/13656
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). แหล่งค้นหาข้อมูลนิติบุคคลและประเภทธุรกิจในประเทศไทย. DBD datawarehouse. https://datawarehouse.dbd.go.th/searchJuristicInfo
กรมสรรพากร. (2559). คู่มือใบกำกับภาษี. กรมสรรพากร. https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf
กรมสรรพากร. (2562). E-Tax invoice & Receipt. กรมสรรพากร. https://etax.rd.go.th/
กรมสรรพากร. (2564). คู่มือใบกำกับภาษี. กรมสรรพากร. https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/ebook/taxinvoice.pdf
กรมสรรพากร. (2564). คู่มือภาษีสำหรับผู้ประกอบการ. กรมสรรพากร. https://www.rd.go.th/62063.html
กรมสรรพากร. (2564). ยื่นแบบออนไลน์. กรมสรรพากร. https://rd.go.th/
กรมสรรพากร. (2564). ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งยังคงประกอบกิจการอยู่. กรมสรรพากร. https://vsreg.rd.go.th/VATINFOWSWeb/jsp/V001.jsp
จิรัชยา นครชัย. (2553). ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. [สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ชูพงษ์ พันธุ์แดง นิตยา ไหวดี ศุภิกา ประเสริฐพร นภัสวรรณ ดาทุมมา รัชดา ศรีสุระพล และกนกอร บุญมี. (2562). ระบบการจัดการสารสนเทศของการลงทุนธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 183-213.
เดวิด มกรพงศ์ และ ปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2561). การตั้งใจใช้เทคโนโลยีในระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางสาธารณะ. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 41(1), 115-126.
ธนวรรณ สำนวนกลาง. (2559). การยอมรับเทคโนโลยีการทำธุรกรรมทางการเงิน รูปแบบ "M-banking". [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). เกณฑ์การแบ่ง SMEs. ธนาคารแห่งประเทศไทย. https://www.bot.or.th/Thai/Segmentation/Business/Pages/SMEs.aspx
พูนเพิ่ม เสรีวิชยสวัสดิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการยอมรับการใช้เทคโนโลยีของพนักงานในอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมระบบ EXPRESS ของนักบัญชีในระดับอุดมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 394-409.
พิมพ์พรรณ สุวรรณศิริศิลป์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับและใช้งานบริการแบบพร้อมเพย์. [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พีรภัทร จินโต. (2564). ปัจจัยและพฤติกรรมที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของพนักงาน บริษัทผลิตอาหารสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดพิษณุโลก. [การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พีรญา ชื่นวงศ์. (2560). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา ธุรกิจการขนส่งในจังหวัดเชียงราย. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 4(2), 92-100.
พงศกร คหินทรพงศ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาผู้ใช้บริการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาบิ๊กซีบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มัสลิน ใจคุณ. (2561). การยอมรับเทคโนโลยี ความไว้วางใจ และการตลาดผ่านสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางเฟซบุ๊กไลฟ์ (Facebook LIVE) ของกลุ่มผู้บริโภค Generations X, Y, Z. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
มานิตา สุวรรณวงศ์พร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการการช่วยเหลือทางการเงินผ่านแชทบอท. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB). 6(2). 49-73.
ณัฐพล สุทธิศักดิ์ศรี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Mobile Banking ของธนาคารออมสินในเขตราชบุรี. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศักดิ์นรินทร์ อินภิรมย์ สมบัติ ธํารงสินถาวร ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ และ สานนท์ อนันทานนท์. (2564). การศึกษาการยอมรับการใช้งานระบบใบกํากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์. ว.มทรส. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6(2), 212-227.
ศันศนีย์ เอื้อประชากุล. (2560). ศึกษาความพร้อมทางดิจิทัลเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและการให้บริการลูกค้าของบริษัทประกันวินาศภัยในประเทศไทย. [การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิรินันท์ กำเนิด. (2558). การศึกษาความพร้อมของเกษตรกรต่อความตั้งใจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ : โปรแกรมประยุกต์ไลน์. [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุธีรา อะทะวงษา และ สมบูรณ์วัลย์ สัตยารักษ์วิทย์. (2557). คุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการ และลักษณะของสถานประกอบการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 28(85), 61-79.
สิทธิชัย วรโชติกำจร และ พัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2561). การพัฒนาระบบจัดเก็บและค้นคืนเอกสารงานสารบรรณ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 137-145.
สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. (2563). ข้อมูลสถิติ. สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก. https://www.opsmoac.go.th/phitsanulok-strategic-files-421191791803
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2559). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การศึกษาแนวทางเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ ขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. https://www.fpo.go.th/eresearch/getattachment/0109af72-f133-4e4b-ba68-b8e2d96ec21c/7552.aspx
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2564). ข้อมูลสถิติ. สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. https://www.fpo.go.th/main/Statistic-Database.aspx
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2562. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. https://www.sme.go.th/th/download.php?modulekey=27
อรุโณทัย พยัคฆงพงษ์. (2560). แบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยีในการแข่งขันทางการตลาด. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 11(25), 128-136.
อาภาพร ผลมี พัฒน์ พัฒนรังสรรค์ และศรีอร สมบูรณ์ทรัพย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจ้างงานแรงงานไร้ทักษะในยุคประเทศไทย 4.0 ของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 9(18), 35-48.
อรวรรณ สุขยานี. (2558). ความตั้งใจในการใช้ระบบสารสนเทศการบริหารทรัพยากรบุคคลของบุคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ : การประยุกต์ใช้ตัวแบบการยอมรับเทคโนโลยี. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุทุมพร วงค์เพชร และ ณิชนันทน์ กิตติพัฒนบวร. (2560). ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ โรงเรียนชุมพรศึกษา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. https://www.hu.ac.th/conference/conference2017/proceedings/data/05-1-Oral%20Presentation/5.Information%20Technology/35-G6-2-064I-O(อุทุมพร%20วงค์เพชร).pdf