ทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ของนักลงทุนช่วงเจเนอเรชันวายในประเทศไทย
DOI:
https://doi.org/10.14456/mjba.2023.4คำสำคัญ:
การลงทุน, เจเนอเรชันวาย, ทัศนคติ, สินทรัพย์ดิจิทัลบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุน ด้านตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ด้านการลงทุนเน้นคุณค่า และด้านการเก็งกำไร ของนักลงทุนช่วงเจเนอเรชันวายในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) และการหาค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อโดยใช้เทคนิค Item-total Correlation ผลการวิจัยพบว่า นักลงทุนส่วนใหญ่ใช้แอปพลิเคชัน Bitkub (29.00%) ช่องทางการใช้แอปพลิเคชันมาจากเพื่อนแนะนำ (51.75%) ระยะเวลาเฉลี่ยในการเข้าใช้ 1-2 ชั่วโมง/วัน (58.25%) ทุนในการดำเนินงาน 14,000-19,000 บาท (51.25%) เหตุผลการลงทุนเพราะต้องการผลตอบแทนที่สูง (78.25%) และแหล่งข้อมูลมาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง (51.75%) ผลการศึกษายังอีกพบอีกว่า นักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนแตกต่างกันโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.14) และในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล ( = 4.17) ด้านการลงทุนเน้นคุณค่า ( = 4.16) และด้านการเก็งกำไร ( = 4.08) งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลว่าเป็นการลงทุนที่มีความปลอดภัยสามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเลือกการลงทุนระยะสั้น เพราะคาดหวังการได้ผลตอบแทนที่รวดเร็ว ได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รวมถึงเป็นเงินออมหรือเงินลงทุนในอนาคตได้ ดังนั้น บริษัทผู้ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ พัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการระดมทุนทำให้นักลงทุนเกิดความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคตได้
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). Gen Y/Gen Me ประชากรกลุ่มใหญ่ของโลกยุคดิจิทัล ผู้กุมชะตาโลกในอนาคต. กรมสุขภาพจิต. https:/www.dmh.go.th/news/view.asp?id=1251.
กษิดิศ สังสีเพชร. (2562). การตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ของผู้ลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. โครงการพิเศษของ MMM. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin92/6214154741.pdf.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามลดา.
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี และ พิชชาภา ยางเดิม. (2559). ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าผ้าใบยี่ห้อ Converse ภายใต้การแข่งขันด้านนวัตกรรมของผู้บริโภคในกลุ่ม Gen Y. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี.
เกียรติกร เทียนธรรมชาติ. (2561). อิทธิพลต่อการตัดสินใจยอมรับใช้เงินดิจิทัล (บิตคอยน์) ของผู้บริโภคกลุ่ม Millennials ในกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชิติพัทธ์ วรารัตน์นิธิกุล. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของนักลงทุน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ช่วงปี พ.ศ. 2549. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/188351.
ตฤณ ตารพล. (2564). อะไรจะเกิดขึ้นบ้างในโลกคริปโตปี 2565 หลังจากที่ปี 2564 กลายเป็นปีที่โดดเด่นและได้รับการยอมรับมากขึ้น. The Standard. https://thestandard.co/author/trin-t/page/2.
ทักษิณ พันแสน. (2561). การยอมรับเทคโนโลยีบล็อกเชนต่อการระดมทุนสาธารณะในประเทศไทย (Publication Number 82). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นพรินทร์ อินคำ. (2564). กระบวนการที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลของนักลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นภนวลพรรณ ภวสันต์. (2564). Metaverse คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโลกการเงินและสินทรัพย์ดิจิทัล. ข่าวหุ้นล่าสุด. สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย. https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?release=y&ref=M&id=dGNBeTFPb1hSZUU9.
นริศรา ซื่อไพศาล. (2564). Digital Asset คืออะไร?. The Matter. https://thematter.co/futureverse/futureword-digital-asset/160461.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). สุวีริยาสาส์น.
ปณิธาน สละชั่ว และ ภัทรกิตติ เนตินิยม. (2565). ทัศนคติต่อการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล กรณีศึกษา E-book. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 17. (น. 161-171). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
พงศธร ปริญญาวุฒิชัย. (2565). เผยผลสำรวจความสนใจสินทรัพย์ดิจิทัลของประชาชนชาวไทย พบ 46% มุ่งเก็งกำไร. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.).
พรชัย ชุนหจินดา. (2561). บทเรียนจากทศวรรษแรกของคริปโทเคอร์เรนซี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 1-28.
พัฒนาพร ฉัตรจุฑามาส, ภรศิษฐ์ จิราภรณ์, ศิริมล ตรีพงษ์กรณา, ปิยะชาติ ภิรมย์สวัสดิ์, และสรวงรัตน์ ปภังกร. (2564). รถไฟเหาะการลงทุนสกุลเงินดิจิทัล นักลงทุนควรจะขึ้นหรือไม่. Hoonsmart. https://hoonsmart.com/archives/180747
มินตรา เชื้ออ่ำ. (2561). การรับรู้และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการใช้สกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ (Bitcoin) ในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(3), 83-97.
วนิดา โคษา. (2559). การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในหมวดกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วีระพันธ์ แก้วรัตน์. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยโยนก.
ศฐา วรุณกูล, นริศรา ชมชื่น และ ภาณุพงษ์ ฉลาดดี. (2564). การศึกษาความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้สนใจลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 3(2), 35-53.
สมใจ ฟองธิวงค์ และ กนกวรรณ จันทร์เจริญชัย. (2562). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงินในสกุลดิจิทัลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 55-71.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ [ก.ล.ต.]. (2564). ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลไทยโตช้ากว่า SET พฤติกรรมส่วนใหญ่รีบขายทำกำไร. สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) ข่าวหุ้น การเงิน. https://www.ryt9.com/s/iq05/3271854
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ [ก.ล.ต.]. (2565). เผยผลสำรวจความสนใจสินทรัพย์ดิจิทัลของประชาชนชาวไทย พบ 46% มุ่งเก็งกำไร. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.). https://www.sec.or.th/TH/Template3/Articles/2565/170565.pdf.
สุวิมล ติรกานันท์. (2557). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หุ้นสมาร์ท. (2564). เตือนภัยกลโกง "เหล้าเก่าในขวดใหม่" หลอกซื้อขายคริปโท. Hoonsmart. https://hoonsmart.com/archives/189571
อลิตา คุ้มเขต. (2562). ทัศนคติต่อสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) ของประชากรวัยทำงานที่สนใจการลงทุนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อลิสา ธีระศักดาพงษ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้งาน Bitcoin. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัครวิชช์ รอบคอบ. (2565). การภาษีอากร 1. (พิมพ์ครั้งที่ 9). The Print.
Cochran. (1953). Sampling Techiques. John Wiley & Sons. Inc.
Cronbach, & Lee J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). Harper Collins.
David A. Aaker, V. Kumar, & George S. Day. (2001). Marketing Research. (7th ed). John Wiley & Sons.
Dingli, Xi, Timothy, Ian O’Brien & Elnaz Irannezhad. (2020). Investigating the Investment Behaviors in Cryptocurrency. Journal of Alternative Investments, 23(2), 141-160. https://doi.org/10.3905/jai.2020.1.108
John Barrdear & Michael Kumhof. (2016). Staff Working Paper No. 605 The macroeconomics of central bank issued digital currencies. Bank of England. https://www.bankofengland.co.uk/-/media/boe/files/working-paper/2016/the-macroeconomics-of-central-bank-issued-digital-currencies.pdf?la=en&hash=341B602838707E5D6FC26884588C912A721B1DC1
Market Think. (2021). ทำไมคนยุคใหม่ ถึงสนใจ “คริปโท” มากกว่าทรัพย์สินอื่น ๆ. Market Think. http://www. https://www.marketthink.co/21101
Piyachart Phiromswad, Pattanaporn Chatjuthamard, Sirimon Treepongkaruna & Sabin Srivannaboon. (2021). Jumps and Cojumps analyses of major and minor cryptocurrencies. Plos one, 16(2), 1-9.
Ralph, Rirsch & Stefan, Tomanek. (2019). Facebook’s Libra: A case for capital markets supervision?. Journal of Payments Strategy & Systems, 13(3), 255-267.
Thanapon Jankaewdet. (2020). Securities Investment Behaviors of Retail Investor in Bangkok. Ramkhamhaeng University. https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun17/6114070031.pdf.