ประสิทธิภาพทางเทคนิคและช่องว่างทางเทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกร พื้นที่เพาะปลูกจังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤตา สนองบุญ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
  • กฤษดา กาวีวงศ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/mbr.2024.3

คำสำคัญ:

จังหวัดพิษณุโลก, ช่องว่างทางเทคโนโลยี, ประสิทธิภาพทางเทคนิค, ผลิตภาพ, อ้อย

บทคัดย่อ

การประมาณประสิทธิภาพทางเทคนิคจากฟังก์ชั่นขอบเขตการผลิตเชิงสุ่ม โดยใช้แบบจำลองขอบเขตการผลิตอภิมาน เพื่อสามารถพิจารณาความไร้ประสิทธิภาพการผลิตที่เกิดจากวิธีปฏิบัติทางการเกษตรช่องว่างทางเทคโนโลยี ศึกษาจากกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่มีการทำการเกษตรแบบพันธะสัญญากับโรงงานน้ำตาลพิษณุโลก ในปีการเพาะปลูก 2564/65 จำนวน 3 พื้นที่ ได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก พรหมพิราม และบางระกำ รวมจำนวนเกษตรกรผู้เพาะปลูกอ้อย 365 ราย พบว่า ตัวแปรที่มีผลกระทบทางบวกต่อจำนวนผลผลิตรวม ได้แก่ สัดส่วนการใช้พื้นที่การเพาะปลูกอ้อย จำนวนแรงงาน ต้นทุนการใช้ปุ๋ย อายุของต้นอ้อย การส่งเสริมการเกษตร การอพยพโยกย้ายถิ่นประชากรระหว่างพื้นที่ และการเข้าถึงสินเชื่อ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความไร้ประสิทธิภาพ ได้แก่ การเข้าถึงที่ดิน ฟาร์มขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงทรัพยากรการผลิตมากกว่า สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้มากกว่าฟาร์มขนาดเล็ก ต้นทุนการใช้ปุ๋ยเป็นผลให้ความไร้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่การอพยพย้าย และต้นทุนเคมีทางเกษตรทำให้ความไร้ประสิทธิภาพลดลง สำหรับพื้นที่เพาะปลูกอำเภอเมืองพิษณุโลก

ช่องว่างทางเทคโนโลยีที่เป็นผลให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพการผลิต ช่องว่างทางเทคโนโลยีเฉลี่ย (MTR) ของเกษตรกร มีค่าเป็น 48%, 79% และ 70% ตามลำดับ เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางการผลิตที่ไม่เอื้อต่อการผลิต ทำให้ความสามารถการผลิตของเกษตรกรลดลง หากมีการการผลิตโดยมีการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เกษตรกรจะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ 52%, 21% และ 30% ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมทางการผลิต การปรับปรุงพัฒนาถนน การเข้าถึงตลาดปัจจัยการผลิตและตลาดผลผลิต เป็นผลกระทบทางบวกต่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางการผลิต

หากการออกแบบโครงการที่เพิ่มความสามารถในการจัดการการผลิตและยกระดับทักษะทางการเกษตรของเกษตรกรเหมาะสมจะช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มจำนวนผลผลิต ให้เข้าใกล้ขอบเขตการผลิตของพื้นที่เพาะปลูกนั้น  การเพิ่มความสามารถของเกษตรกรในการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นและเทคโนโลยีการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผลให้เกิดผลสองทางได้แก่ การเพิ่มผลผลิตไปพร้อมกับการลดต้นทุนการผลิต และจะเป็นผลให้มีความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศของภาคธุรกิจ

References

มาริษา ตรีดารา. (2565). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตอ้อยของเกษตรกรในจังหวัดสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/5785/3/MarisaTredara.pdf.

วิโรจน์ ณ ระนอง, ศิริกัญญา ตันสกุล, และธนัมพร ฉันทพรม (2555). การศึกษาเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย. สถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI).

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2543). อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย: ลู่ทางการขยายการผลิตเพื่อเพิ่มการส่งออก. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6. (2566). การศึกษาประสิทธิภาพเชิงเทคนิคและการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพการผลิตจากการใช้ระบบควบคุมคุณภาพน้ำอัจฉริยะการผลิตกุ้งขาวแวนนาไม ภาคตะวันออก. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สุรินทร์ สมคำ และชยุตม์ วะนา. (2566). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพเชิงเทคนิคการผลิตข้าวของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร, 26(2), 279–296.

Aigner DJ., Lovell, C.A.K. & Schmidt, P. (1977). Formulation and Estimation of Stochastic Frontier Production Function Models. Journal of Econometrics, 6, 21–37.

Battese, E., Rao, D.S.P, & O’Donnell, C.J. (2004). A Metafrontier Production Function for Estimation of Technical Efficeincies and Technology Potentials for Firms Operating under Different Technologies. Journal of Productivity Analysis, 21, 91–103.

Battese, G.E., & Rao, D.S.P. (2002). Technology Gap, Efficiency, and a Stochastic Metafrontier Function. International Journal of Business and Economics, 1(2), 87–93. www.researchgate.net/publication/43504658_Technology_Gap_Efficiency_and_a_Stochastic_Metafrontier_Function/link/00b495213f6c661388000000/download

Coelli, T.J. (1995). Recent Developments in Frontier Modelling and Efficiency Measurement. Australian Journal of Agricultural Economics, 39(3), 219–245.

Coelli, T.J., Rao, D.S.P., O’Donnell, & Battese, G.E. (2005). An Introduction to Efficiency and Productivity Analysis (2nd Edition). Springer.

Farrell, M.J. (1957). The Measurement of Productive Efficiency. Journal of the Royal Statistical Society. Series A: General, 120(3), 253–281.

Hayami, Y. & Ruttan, V.W. (1971). Agricultural Development: International Perspectives. Baltimor: John Hopskins University Press.

Kodde, D.A. & Palm, F.C. (1986). Wald Criteria for Jointly Testing Equality and Inequality Restrictions. Econometrica, 54, 1243–1248.

Meeusen, W. & Van den Broeck, J. (1977). Efficiency Estimation from Cobb-Douglas Production Functions with Composed Error. International Economic Review, 18, 435–444.

O’Donnell C.J., Rao, D.S.P., & Battese, G.E. (2008). Metafrontier Frameworks for the Study of Firm-Level Efficiencies and Technology Ratios. Empirical Economics, 34, 231–255. doi:10.1007/s00181-007-0119-4.

วารสารบริหารธุรกิจ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-29

How to Cite

สนองบุญ ณ., & กาวีวงศ์ ก. (2024). ประสิทธิภาพทางเทคนิคและช่องว่างทางเทคโนโลยีการผลิตอ้อยของเกษตรกร พื้นที่เพาะปลูกจังหวัดพิษณุโลก. Maejo Business Review, 6(1), 44–64. https://doi.org/10.14456/mbr.2024.3