วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นวารสารราย 6 เดือน เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานในลักษณะบทความวิชาการ (Academic Article) บทความวิจัย (Research Article) บทความปริทัศน์ (Review Article)  และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ แก่นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

ขอบเขตของผลงานที่ตีพิมพ์

          วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตีพิมพ์บทความทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วรรณกรรม  ภาษาศาสตร์  บริหารธุรกิจและการบัญชี ศิลปกรรม 

การพิจารณาบทความ

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) อย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้แต่งและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความจะไม่ทราบชื่อซึ่งกันและกัน (Double-blind Peer Review)

ประเภทของบทความที่รับตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการ (Academic Article)

งานเขียน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นความรู้ใหม่ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ แนวทางการแก้ไขปัญหา มีการใช้แนวคิดทฤษฎี ผลงานวิจัยจากแหล่งข้อมูล เช่น หนังสือ วารสารวิชาการ อินเทอร์เน็ตประกอบการวิเคราะห์วิจารณ์ เสนอแนวทางแก้ไข

  1. บทความวิจัย (Research Article)

เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ กล่าวถึงความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ การดำเนินการวิจัย

  1. บทความปริทัศน์ (Review Article)

งานวิชาการที่ประเมินสถานะล่าสุดทางวิชาการ (State of the art) เฉพาะทางที่มีการศึกษาค้นคว้า มีการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ความรู้ทั้งทางกว้าง และทางลึกอย่างทันสมัย โดยให้ข้อพิพากษ์ที่ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ควรศึกษาและพัฒนาต่อไป

  1. บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review)

บทความที่วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาสาระ คุณค่า และ คุณูปการของหนังสือ บทความหรือผลงานศิลปะ อาทินิทรรศการ ทัศนศิลป์ และการแสดงละครหรือดนตรี โดยใช้หลักวิชาและดุลยพินิจอันเหมาะสม

หลักเกณฑ์ในการส่งบทความ

1. บทความที่ผู้แต่งส่งมาเพื่อตีพิมพ์จะต้องเป็นบทความที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่หรืออยู่ระหว่างการเสนอขอตีพิมพ์จากวารสารอื่น ๆ

2. เนื้อหาในบทความต้องไม่คัดลอก ลอกเลียน หรือไม่ตัดทอนจากบทความอื่นโดยเด็ดขาด (การละเมินลิขสิทธิ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น)

3. ผู้แต่งต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในระเบียบการส่งบทความของ วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4. การพิจารณาบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จะพิจารณาเฉพาะบทความที่ได้รับการประเมินให้ตีพิมพ์เผยแพร่จากผู้ทรงคุณวุฒิเท่านั้น

5. กรณีข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แต่งต้องปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และชี้แจงการแก้ไขต้นฉบับดังกล่าว มายังกองบรรณาธิการ

รูปแบบการอ้างอิง

  1. 1. การอ้างอิงในเนื้อหา (In-text citation)

กรณีอ้างอิงชื่อผู้แต่งก่อนข้อความ        ชื่อผู้แต่ง (ปีที่พิมพ์)........................

ตัวอย่าง                                     Kelly (2004) แสดงให้เห็นว่า........................

                                                  Saikaew & Kaewsarn (2009) ได้ศึกษาเกี่ยวกับ........................

                                                  Lui et al. (2000) พบว่า........................

                                                  Saikaew & Kaewsarn (2009) และ Lui et al. (2000) พบว่า

กรณีอ้างอิงชื่อผู้แต่งท้ายข้อความ        ...................... (ชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์)

ตัวอย่าง                                     ...................... (Kelly, 2004)

                                                  ...................... (Saikaew & Kaewsarn, 2009)

                                                  ...................... (Lui et al., 2000)

                                                  ...................... (Saikaew & Kaewsarn, 2009; Lui et al., 2000)

1.2. การอ้างอิงในส่วนท้ายบทความ (References)

1.2.1 อ้างอิงจากหนังสือ (Books)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. (ครั้งที่พิมพ). สถานที่พิมพ: สํานักพิมพ.

ตัวอย่าง      Crawley, R. B., Dockery, L. M., Branson, T. S., Carmichael, L. E., Carson, J. C., Findlay, A. F., & Smith, D. M. (2015). Manor houses of the early 1900s. London, England: Taylor & Francis.

1.2.2 อ้างอิงจากบทความวารสาร (Journal articles)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

ตัวอย่าง      Yingsanga, P., & Mathurasa, L. (2009). Yellowing development of Chinese Kale (Brassica oleracea var. alboglabla).  Phranakhon Rajabhat Research Journal: Science and Technology, 14(1), 76-90. (In Thai)

                Morrisa, G.A., Fosterb, T.J., & Hardinga, S.E. (2000). The effect of the degree of esterification on the hydrodynamic properties of citrus pectin. Food Hydrocolloids, 14(3), 227–235.

1.2.3 อ้างอิงจากวิทยานิพนธ์ (Theses and Dissertations)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. (ระดับวิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัย, เมืองที่ตั้งมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง      Caprette, C.L. (2005). Conquering the cold shudder: The origin and evolution of snake eyes. (Doctoral dissertation). Ohio State University, Columbus, OH.

1.2.4  อ้างอิงจากรายงานการวิจัย/รายงานทางวิชาการ  (Technical/Research reports)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง (ประเภทของเอกสาร). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง      Tayama, T. (2006). Velocity influence on detection and prediction of changes in color and motion direction (Report No. 38). Sapporo, Japan: Psychology Department, Hokkaido University.

1.2.5  บทความ/บทในหนังสือการประชุม (Proceedings of meeting and symposium)

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่งในบท. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อบรรณาธิการ, (บรรณาธิการ), ชื่อการประชุม (หน้าแรก-หน้าสุดท้าย). สถานที่พิมพ์: สานักพิมพ์.

ตัวอย่าง      Deci, E.L., & Ryan, R.M. (1991). A motivational approach to self: Integration in personality. In R. Dienstbier (Ed.), Nebraska Symposium on motivation: Vol. 38 Perspectives on motivation (237-288). Lincoln, NM: University of Nebraska Press.

1.2.6  อ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

รูปแบบ       ชื่อผู้แต่ง. (ปีพิมพ์). ชื่อเรื่อง. Retrieved from http://.............[ใส่วันที่สืบค้น].

ตัวอย่าง      Centers for Disease Control and Prevention. (2003). Take charge of your diabetes. Retrieved from http://www.cdc.gov/diabetes /pubs/paf/ted.pdf [2015, 25 Oct.]

1.2.7  อ้างอิงอื่นๆ

รูปแบบ       ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. (ปีที่ให้สัมภาษณ์, วัน เดือน). สัมภาษณ์. ตำแหน่งผู้ให้สัมภาษณ์. หน่วยงาน.

ตัวอย่าง      Phae-ngam, W. (2016, 10 Jan.). How to write a good research article. Assistant Professor. Faculty of Science and Technology. Phranakhon Rajabhat University.

 

สำนักพิมพ์

  •  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ประวัติวารสาร
         วารสารวิจัยราชภัฏพระนครดำเนินการจัดพิมพ์บทความอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2548 ถึงปัจจุบันเป็นวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลฐานข้อมูลดัชนีอ้างอิงวารสารไทย (TCI) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนในการเผยแพร่งานวิจัยและบทความทางวิชาการของคณาจารย์และนักศึกษา นักวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน

 

ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียม
         กองบรรณาธิการวารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กำหนดค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ 3,500 บาท
         โดยให้โอนเงินค่าธรรมเนียมต่างๆ ผ่านทางบัญชีธนาคารเท่านั้น หลังจากชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมผ่านกล่องข้อความกระทู้สนทนา (Discussion) ของผู้เขียน ในระบบ ThaiJO เพื่อกองบรรณาธิการจะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

               เลขที่บัญชี 136-2-48700-9 
               ชื่อบัญชี โครงการเฉพาะกิจ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
               ประเภทบัญชี ออมทรัพย์
               ธนาคารทหารไทย สาขารามอินทรา กม. 4