ภูมิทัศน์ละครไทยของดิจิทัลทีวีช่องวาไรตี้ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายและการกระจุกตัว-กระจายตัวของรายการละครที่ออกอากาศทางดิจิทัลทีวี เปรียบเทียบความแตกต่างกับละครที่ออกอากาศทางฟรีทีวีระบบเดิม และเพื่อวิเคราะห์การทำหน้าที่ของรายการละคร โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาเฉพาะรายการละครไทยที่ผลิตเพื่อออกอากาศเป็นครั้งแรกทางดิจิทัลทีวีช่องวาไรตี้ในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2560 รวมทั้งสิ้น 74 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า1) ภูมิทัศน์ของละครอยู่ในกลุ่มฟรีทีวีเดิม (ช่อง 3HD และ 7HD) 34 เรื่อง และอยู่ในกลุ่มดิจิทัลทีวี40 เรื่อง ซึ่งมีความใกล้เคียงกัน แต่พบการกระจุกตัวอยู่ที่ผู้ประกอบการเพียงไม่กี่ราย 2) ภูมิทัศน์ผู้ผลิตหรือผู้อำนวยการผลิต กระจุกตัวอยู่ที่ผู้ผลิตหรือผู้อำนวยการผลิตบางราย ที่ผลิตละครเพื่อนำเสนอผ่านช่องรายการในเครือบริษัทเดียวกัน หรือช่องรายการเดิมที่ตนเคยร่วมงานด้วย3) ภูมิทัศน์รูปแบบของละคร กระจุกตัวอยู่ที่รูปแบบละครเรื่องยาว (TV serial) รองลงมาคือรูปแบบละครเรื่องสั้น (mini-series) และลำดับสุดท้ายคือรูปแบบละครหรรษา (situation comedy) 4.) ภูมิทัศน์ประเภทของละคร กระจุกตัวอยู่ที่ละครชีวิต (drama) รองลงมาคือละครรักโรแมนติก (romance)และลำดับสุดท้ายคือละครตลก (comedy) ทั้งนี้ ดิจิทัลทีวีช่วยเพิ่มทางเลือกให้กลุ่มผู้ชมมากขึ้น และทำหน้าที่ของละครได้อย่างสมบูรณ์ขึ้น ขณะเดียวกัน ก็มีทั้งผู้ผลิตที่เน้นการผลิตละครที่มีเนื้อหาที่แปลกแตกต่าง และผู้ผลิตที่เน้นการผลิตละครที่มีความเข้มข้น ตอบสนองด้านอารมณ์เป็นหลักเพื่อดึงดูดความสนใจผู้สนับสนุนรายการและผู้ชม
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิจัยราชภัฏพระนครเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Cooper, R. Potter, W. J. & Dupagne, M. (1994). A status report on methods used in mass communication media research. Journalism Educator, 48(4), 54-61.
Kaewthep, K. (2009). Media analysis: concepts and techniques. Bangkok: Parbpim Printing. (in Thai)
Kaewthep, K. (2004). Philosophy of communication arts and communication theory. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)
Kaewthep, K. (2002). SueBanTueng: Amnaj Hang Kwam Raisara. Bangkok: All About Print. (in Thai)
Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of behavioral research (3rd edition). NY: Holt, Rinehart & Winston.
Kritsanasuwan, A. (2012). Broadcasting management of Thai drama program. Master of Arts (Mass Communication Administration), Thammasat University. (in Thai)
Kritsanasuwan, A. (2018). Lecturer, Bangkok University. Interviewed on May 4, 2018. (in Thai)
Sangchai, N. (2009). Thai TV drama script writing: creation process and techniques. University of the Thai Chamber of Commerce Journal. 29(3), 139-158. (in Thai)
Sukaniwat, S. (2018). Playwright. Interviewed on May 5, 2018. (in Thai)
Tanasatid, P. (1988). Lakhon Toratad Thai. Bangkok: CU print. (in Thai)
Tansisuroj, P. (2008). The positioning of sender group and adolescence receiver in Bangkok to the influence of celebrity on television. Master of Arts (Mass Communication Administration), Thammasat University. (in Thai)
WoraTangtrakul, D. (2018). Deputy Chief Executive Officer of One 31 Company Limited. Interviewed on May 17, 2018. (in Thai)