การประเมินและคัดเลือกผู้ส่งมอบวัตถุดิบโดยการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น: กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโซ่อุปทานขนมไทย จังหวัดนครนายก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้ส่งมอบวัตถุดิบของวิสาหกิจชุมชนขนมไทย และ 2) ประเมินผลรูปแบบการคัดเลือกผู้ส่งมอบของวิสาหกิจชุมชนขนมไทย โดยมีการกำหนดปัจจัย 5 ปัจจัย ดังนี้ (1) ด้านการบริการ (2) ด้านการส่งมอบ (3) ด้านความน่าเชื่อถือ (4) ด้านคุณภาพ และ (5) ด้านราคา และกลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive selection) คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนมไทย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยวิสาหกิจชุมชนขนมไทย จำนวน 9 คน ในอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ได้แก่ ผู้ส่งมอบวัตถุดิบ 3 ราย จังหวัดนครนายก โดยใช้เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและโปรแกรม Microsoft Excel นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิควิธีการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) ผลการวิจัยพบว่า 1) ลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกผู้ส่งมอบวัตถุดิบของวิสาหกิจชุมชนขนมไทย โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ (1) ด้านการบริการ (2) ด้านการส่งมอบ (3) ด้านความน่าเชื่อถือ (4) ด้านคุณภาพ (5) ด้านราคา และ 2) การประเมินผลรูปแบบการคัดเลือกผู้ส่งมอบของวิสาหกิจชุมชนขนมไทย พบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มขนมไทยให้ความสำคัญความสัมพันธ์การจัดลำดับทางเลือก การบริการ ร้อยละ 58 การส่งมอบ ร้อยละ 18 ความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 14 คุณภาพ ร้อยละ 6 และราคา ร้อยละ 4 ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิจัยราชภัฏพระนครเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Wiratchai N. (1999). Meta-analysis. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University. (In Thai)
Chou, S. Y. & Chang, Y. H. (2008). A decision support system for supplier selection based on a strategy-aligned fuzzy SMART approach. Expert Systems with Applications. 34(4), 2241-2253.
Glaser-Segura, D., Anghel, L. & Tucci, J. (2010). Supply Chain Management and the Romanian Transition. Management & Marketing. 5 (2), 3-18.
Govindan, K., Seuring, S., Zhu, Q. & Azevedo, S.G. (2016). Accelerating the Transition Towards Sustainability Dynamics into Supply Chain Relationship Management and Governance Structures. Journal of Cleaner Production, 112(3), 1813-1823.
Jöreskog, K. G., & Sörbom, D. (1993). LISREL 8: Structural equation modeling with the SIMPLIS command language. Scientific Software International.
Junior, F.R.L., Osiro, L., & Carpinetti, L.C.R., (2014). A Comparison between Fuzzy AHP and Fuzzy TOPSIS Methods to Supplier Selection. Applied Soft Computing, 21, 194-209.
Keeble, B.R. (1988). The Brundtland Report: Our Common Future. Medicine and War, 4, 17-25.
National statistical office. (2018). The 2017 Food Consumption Behavior Survey. Bangkok: Statistical Forecasting Division, National statistical office. (In Thai)
Saaty, T.L. (1980). The Analytic Hierarchy Process. New York: McGraw-Hill.
Wagner, S.M., & Johnson, J.L. (2004). Configuring and Managing Strategic Supplier Portfolios. Industrial Marketing Management, 33, 717-730.
Wu, C., & Barnes, D. (2011). A Literature Review of Decision-Making Models and Approaches for Partner Selection in Agile Supply Chains. Journal of Purchasing and Supply Management. 17, 256-274.