CLUSTER ANALYSIS OF HOUSEHOLD SEGMENTATION AND FACTORS AFFECTING HOUSEHOLD FINANCIAL MANAGEMENT IN BAN CHIEN SUB-DISTRICT, HANKHA DISTRICT, CHAI NAT PROVINCE

Main Article Content

Saisunee Pradubnak
Sirithip Wasinrat
Nuntawan Buara

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์แบ่งกลุ่มครัวเรือนตามการบริหารจัดการทางการเงินของครัวเรือนในตำบลบ้านเชี่ยน และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการทางการเงินในครัวเรือนของตำบลบ้านเชี่ยน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือครัวเรือนจำนวน 150 ครัวเรือนในตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม และการวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติก ผลการวิจัย 1) ผลการวิเคราะห์เกี่ยวกับรายได้ รายจ่าย หนี้สิน และการออม จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า รายได้ที่มีค่ามัธยฐานสูงสุดมาจากการทำปศุสัตว์ รายจ่ายครัวเรือนที่มีค่ามัธยฐานสูงสุดได้แก่ ค่าผ่อนชำระสินค้าต่าง ๆ ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา และค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา ครัวเรือนส่วนใหญ่มีหนี้สินจากแหล่งเงินกู้มากกว่า 1 แหล่ง และครัวเรือนส่วนใหญ่มีแหล่งเงินออม 3 แหล่ง 2) ผลการวิจัยสามารถจำแนกกลุ่มการจัดการเงินของครัวเรือนได้เป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีหนี้สินเฉลี่ยน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับตัวแปรอื่น มีจำนวนครัวเรือนมากที่สุด 107 ครัวเรือน ร้อยละ 71.33 กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีหนี้สินมากเมื่อเทียบกับตัวแปรอื่น มีจำนวนครัวเรือน 5 ครัวเรือน ร้อยละ 3.33 กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีรายจ่ายเฉลี่ยมากที่สุดเมื่อเทียบกับตัวแปรอื่น มีจำนวนครัวเรือน 11 ครัวเรือน ร้อยละ 7.33 กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่มีรายได้เฉลี่ยมากที่สุดเมื่อเทียบกับตัวแปรอื่น มีจำนวนครัวเรือน 19 ครัวเรือน ร้อยละ 12.67 กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่มีเงินออมมากที่สุดเมื่อเทียบกับตัวแปรอื่น มีจำนวนครัวเรือน 7 ครัวเรือน ร้อยละ 4.67 และกลุ่มที่ 6 กลุ่มที่มีหนี้สินมากที่สุดและมากกว่าตัวแปรอื่นกว่า 6 เท่า มีจำนวนครัวเรือนน้อยที่สุด 1 ครัวเรือน ร้อยละ 0.67 และ 3) การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเงินของครัวเรือนในตำบลบ้านเชี่ยน พบว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่กำลังศึกษา และจำนวนยานพาหนะที่มีใช้ในของครัวเรือน มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการเงินของครัวเรือนในตำบลบ้านเชี่ยน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

Ban Chien Sub-district Municipality. (2020). The basic information Ban Chien Subdistrict. Retrieved from https://www.banchian.go.th/history.php [2022, 24 May.] (In Thai)

Cronbach, Lee. J. (1990). Essentials of Psychology Testing. (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers Inc.

National Statistical Office. (2020). Summary of important results Household socio-economic survey during the first 6 months of 2019. Retrieved from http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขารายได้/เศรษฐกิจสังคมครัวเรือน/62/Exclusive_summary_62.pdf. [2022, 22 May.] (In Thai)

Office of Agricultural Economics. (2020). A study of factors influencing income, expenditure, savings, debt, factors determining debt decision-making and loan demand of agricultural households. Retrieved from https://www.oae.go.th/view/การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล/TH-TH [2022, 22 May.] (In Thai)

Onphuttha, N., Lakrat, W., Sribunruang, S. & Somakettrin, J. (2018). The Financial Management of the Household in Fa Yat Subdistrict, Mahachanachai District, Yasothon Province. Sisaket Rajabhat University Journal, 12(2), 40-50. (In Thai)

Pradubnak, S., Wasinrat, S., & Buara, N. (2020). Financial management in the household’s operations by community participation process, Banchien Sudistrict Hhankha district, Chainat Province . The 6th Rajabhat University National and International Research and Academic, (p.116-124). Chandrakasem Rajabhat University. (In Thai)

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

Samphantharak, K. (2017). The rural household finance Through two decades of research: Townsend Thai Project. Retrieved from https://thaipublica.org/2017/04/pier-19/ [2022, 24 May.] (In Thai)