การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย

Main Article Content

ปาริชาติ รัตนพล

Abstract

การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ในวาระโอกาสสำคัญเช่น การศึกษาดูงานตามโครงการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ การประชุมลงนามความร่วมมือ ทางวิชาการกับสถานศึกษา องค์กร โดยทำการศึกษาประวัติความเป็นมา บริบท และอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อออกแบบและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ จากนั้นนำไปประเมินความพึงพอใจในรูปแบบ ผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นจากกลุ่มประชากร จำนวน 200 คน คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ตามหน่วยงานต่างๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นและความต้องการเบื้องต้น เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสำหรับมหาวิทยาลัยฯ การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามใช้สถิติการหา ค่าร้อยละ ส่วนแบบสำรวจความพึงพอใจในรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกที่ผู้วิจัยได้ออกแบบ และสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบไว้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบและความต้องการเบื้ องต้นของประชากรกลุ่มตั วอย่างนั้ นเห็ นว่า ควรอย่างยิ่งที่จะมีผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่มีรูปแบบ และตราสัญลักษณ์เฉพาะมีความหมายชัดเจน สร้าง เอกลักษณ์ให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครได้ต้องมีคุณค่าสื่อได้ถึงประวัติความเป็นมา มีรูปแบบเอกลักษณ์ เฉพาะและไม่จำเป็นต้องใช้งานได้ภายหลังการมอบ อีกทั้งควรมีบรรจุภัณฑ์เฉพาะและไม่ควรมีจำหน่ายทั่วไป จากการสรุปความคิดเห็นและความต้องการจึงได้ทำการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ โดยนำความสำคัญในอดีต จนถึงปัจจุบันที่ผ่านกาลเวลาในช่วงที่แตกต่างกัน จำนวน 4 ประเด็น มาสรุปเป็นแนวคิดการออกแบบด้านรูปทรง จากกลีบดอกของต้นกาสะลองต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยฯ ในปัจจุบัน แต่ละกลีบความหมายที่แตกต่างกัน โดยผลิตจากเซรามิกส์มีฐานรองกลีบเคลือบรานสีขาว กลีบดอกด้านบนชุบเคลือบสีทองเขียนลายบนเคลือบ บรรจุภัณฑ์ผลิตจากไม้สักทอง ขัดผิวกึ่งเงาเซาะร่องด้วยเลเซอร์คัทบนไม้และแผ่นทองเหลือง 2) การประเมิน ความพึงพอใจในรูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ และด้านรูปแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่ามีความพึงพอใจไปในทิศทางเดียวกัน อยู่ในระดับมากทุกประเด็นรายละเอียด

 

Development of the Souvenir Design and Package to Preserve Thai Arts and Culture

This research aimed to develop souvenir and package design to preserve Thai arts and culture. The design was used as a souvenir given on special occasions by Phanakhon University, such as outings and MOU protocol.

This study investigated historical background and context of the university, as well as identified concepts with the aim of formulating a product model. Then the sample group of 200 people including university administrators, faculty of teachers, and supporting staff of various units were asked to express their satisfaction towards to model which was designed and constructed by the researcher. A questionnaire which was constructed by the researcher was employed to collect data. The statistics for data analysis were percentage, mean, and standard deviation.

The findings indicated as follows: (1) The sample group suggested that the university should have souvenirs embodying clear university symbol and representing its historical background. Moreover, it should be unique; however it is not necessary to be usable objects. In addition, its packaging should be tailor-made and the souvenir should not be available anywhere. Their ideas and needs led to a summary of four aspects lying in the important events from the past up to the present, which were later used as a framework for product development. This resulted in a design of a Kasalong flower, the flower of the university. Each petal of the flower has its own characteristic and meaning. The souvenir is made from ceramic. The top petal is crackle glazed and plated in gold color and has a motif on it. The package is made of brass and gold teakwood which were exfoliated and etched by laser. (2) The evaluation of satisfaction of product design and product package was demonstrated at a high level in both aspects.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)