รูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
Main Article Content
Abstract
การศึกษารูปแบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กร : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงาน การรับรู้ และรูปแบบการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เป็นการวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพโดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย โดยการศึกษาเอกสารวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนที่ 2 ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์และแนวทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพ ลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ใช้การสำรวจกลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ส่วนที่ 3 ศึกษารูปแบบ การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกและจัดระบบข้อมูลเชิงพรรณนา ซึ่งผลการ วิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครสอดคล้องกับ โครงสร้างของกระบวนการประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรทุกด้าน 2) กลุ่มตัวอย่างรับรู้ข้อมูล ข่าวสารการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยในระดับปานกลางและมีความคิดเห็นต่อแนวทางการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ในระดับมากและ 3) ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเห็นด้วยกับรูปแบบ การสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครที่เหมาะสมคือ AMCI Model
Communicative Public Relations Model for Organizational Image Promotion: A Case Study of Phranakhon Rajabhat University
This study of the communicative public relations model for organizational image promotion of Phranakhon Rajabhat University aimed to investigate perception, guidelines, and communicative public relations model for organizational image promotion. The research methodology incorporated the quantitative and qualitative methods. This research was divided into three parts: Part One aimed to identify the communicative public relations of the university. Content analysis was performed. Part Two was to analyze perception and issued guidelines for communicative public relations for organizational image promotion. A survey was carried out. The sample group was 400 people living in Bangkok who were derived through a multi-stage random sampling. The data were analyzed by using SPSS. Part Three was to examine the communicative public relations model for organizational image promotion. The researcher conducted in-depth interviews with 12 experts who were derived through a purposive sampling. The data were classified and described. The findings revealed as follows: (1) The communicative public relations were aligned with the structural procedure of communicative public relations for organizational image promotion in every aspect. (2) The sample group perceived the university information at a middle level and had attitudes towards guidelines for organizational image promotion at a high level. (3) All experts suggested that the appropriate model for organizational image promotion was AMCI Model.
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves