การพัฒนาคลังกิจกรรมภาษาอังกฤษตามหลักรูปแบบการเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

ปรารถนา ผดุงพจน์
สมถวิล ธนะโสภ
นาตยา ปิลันธนานนท์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังกิจกรรมภาษาอังกฤษตามหลักรูปแบบการเรียนของ Kolb สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ รูปแบบการเรียนของ Kolb ซึ่งพบว่ามี 4 รูปแบบการเรียน ได้แก่ 1) แบบคิดอเนกนัย 2) แบบดูดซึม 3) แบบ เอกนัย และ 4) แบบปรับปรุง แล้วศึกษาหลักสูตรภาษาอังกฤษหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฎ พระนครพบว่ามี 2 รายวิชา จึงเลือกที่จะพัฒนารายวิชา English for Communication จากนั้นจึงได้ทำการ วิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียนแต่ละรูปแบบและจัดทำคลังแผนกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่ สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนทั้ง 4 รูปแบบ ตามหลักรูปแบบการเรียนของ Kolb แล้วจึงวิเคราะห์ความ สอดคล้องของแผนกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่สร้างขึ้นกับรูปแบบการเรียน จากนั้นจึงนำคลัง กิจกรรมที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญที่ได้มาจากการสุ่มแบบ Purposive Sampling จำนวน 9 คน ตรวจสอบความ ถูกต้องและเหมาะสมของคลังกิจกรรมภาษาอังกฤษตามหลักรูปแบบการเรียนด้วยการตอบแบบประเมิน เมื่อ รวบรวมข้อมูลได้แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่า IOC และทำการปรับปรุงแก้ไขตามข้อคิดเห็นและนำเสนอ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) ผลของการวิเคราะหล์ ักษณะของผูเ้ รียน คือ ไดลั้กษณะผูเ้ รียนแตล่ ะรูปแบบการเรียนทั้ง 4 รูปแบบ 2) ผลของการพัฒนาคลังกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามหลักรูปแบบการเรียนได้หน่วย การเรียนสำหรับรายวิชา English for Communication จำนวน 13 หน่วยการเรียน ซึ่งแต่ละหน่วยการเรียน เป็นแผนกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนทั้ง 4 รูปแบบตามหลักรูปแบบการเรียน ของ Kolb รวมทั้งหมด 52 แผนกิจกรรมการเรียนการสอน 3) สำหรับผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อคลังแผนกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ตามหลักรูปแบบการเรียน เห็นด้วยกับการกำหนดองค์ประกอบของหน่วยการเรียน (ภาพรวม) องค์ประกอบของ หน่วยการเรียน (แต่ละองค์ประกอบ) และความสอดคล้องของกิจกรรมกับรูปแบบการเรียนว่า มีความเหมาะสม ที่จะนำมาใช้ได้ แต่ก็มี 3 แผนกิจกรรมการเรียนการสอนที่ปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเพื่อความ สมบูรณ์ของแผนกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนทั้ง 4 รูปแบบ

 

Development of English Activity Bank Based on Learning Style Pattern for Undergraduate at Phranakhon Rajabhat University

This research aimed to develop English activity bank based on Kolb’s learning styles for first year undergraduate students in Phranakhon Rajabhat University.The study of Kolb’s learning style found four learning styles: divergent, assimilation, convergent, and accommodation. The study of the General Education curriculum of Rajabhat Phranakhon University reported that two English courses were required.The first course English for Communication was chosen. Then, an in-depth study of each learning style was undertaken and an activity bank for this course based on Kolb’s leaning styles was constructed. After that, a study of congruence of the constructed activities and the learning styles was conducted. Later, nine experts who were derived through a purposive random sampling were asked to complete the evaluation forms in order to identify its accuracy and suitability. After the evaluation forms had been gathered, the IOC was identified. Next, the improvement of the activity bank was made according to the experts’ suggestions. The presentation on the findings was given through descriptive information. The results were as follows: 1) The analysis of student learning styles suggested four types. 2) The activity bank construction for the course of English for Communication gave rise to 13 unit plans and each of them provided activities covering all Kolb’s four learning styles. Hence, 52 lesson plans were created. 3) The evaluation of the experts showed approvals for overall structure and unit elements. As for the congruence of activity bank and learning styles, the experts agreed on its applicability. However, they recommended three of all lesson plans needed adjusting to accord with the four learning styles.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)