การพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบสอบ และการรู้คิดเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถการกำกับตนเองในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ณรงค์ โสภิณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิด การสืบสอบและการรู้คิดเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถการกำกับตนเองในการ เรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ ตามแนวคิดการสืบสอบและการรู้คิดเพื่อส่งเสริมผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถการกำกับ ตนเองในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยพิจารณาจาก (1) การศึกษาและเปรียบเทียบผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์นักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตาม แนวคิดการสืบสอบและการรู้คิด (2)การศึกษาและเปรียบเทียบ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นักเรียน ก่อนและหลังเรียนด้วยยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบสอบและการรู้คิด (3) การศึกษา และเปรียบเทียบ เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์นักเรียนก่อนและ หลังเรียนด้วยยุทธศาสตร์การจัดการการ เรียนรู้ตามแนวคิดการสืบสอบและการรู้คิด และ (4) การเปรียบเทียบความสามารถการกำกับตนเองในการ เรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบสอบและ การรู้คิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลศรีธาตุ ปีการศึกษา 2554 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 30 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) รวบรวมข้อมูลในการศึกษาผลโดยใช้แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แบบวัดเจตคติต่อการเรียน วิทยาศาสตร์ และแบบวัดความสามารถการกำกับตนเองในการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test for dependent) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ตามแนวคิดการสืบสอบ และการรู้คิด ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้น ได้แก่ 1)ขั้นเกิดความตระหนักและสร้างความสนใจ 2)ขั้นเกิดความขัดแย้งทางปัญญา 3)ขั้นแสวงหาคำตอบ 4)ขั้นตรวจสอบความเข้าใจและขยายความรู้ และ 5)ขั้นการประเมินและสรุปผล 2. ผลการใช้ยุทธศาสตร์การจัดการการเรียนรู้ พบว่า (1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน (2) นักเรียน มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และมี ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (3) นักเรียนมีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ในระดับ มาก และ มีเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (4) นักเรียนมีความสามารถ การกำกับตนเองในการเรียนรู้ ในระดับดี และ มีความสามารถการกำกับตนเองในการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

 

The Development of Learning Management Strategy based on Inquiry Approach and Metacognition to Enhance Scientific Learning Outcomes and Self-regulated Learning Ability of Primary School Students

The purposes of this study were to: 1) development learning management strategy base on Inquiry Approach and Metacognition to enhance scientific learning outcomes and selfregulated learning ability of the primary school students, and 2) study implementation effects of the developed strategy as considered by means of; (1) studying and comparing the students’ scientific learning achievement before and after being taught by the developed strategy, (2) studying and comparing the students’ scientific process skills before and after being taught by the developed strategy, (3) studying and comparing the students’ attitudes towards science learning after being taught by the developed strategy, and (4) comparing the students’ selfregulation ability being taught by the developed strategy. They were randomized to Cluster Random Sampling, the samples were 30 students who were studying in Prathomsuksa 6, academic year 2011, from Srithat Kinderarten School under the Office of Udon Thani Primary Education Area 2. The data were collected though achievement test, scientific process skill test, attitude rating scale questionnaire, self-regulated learning ability test. The data were analyzed for percentage, mean, standard deviation and also t-test for dependent sample was employed for pretest – posttest mean scores comparison. The findings of this research were as follows: 1) The learning management strategy by Inquiry and Metacognition to enhance the students’ scientific learning outcomes and self-regulation developed by the researcher consisted of 5 steps, namely, awareness and attention gaining, cognition conflict, answer investigation, understanding verification and elaboration, and evaluation and conclusion steps. 2) The effects of the developed strategy implementation revealed as the following: 2.1 As the students’ scientific learning achievement consideration, it was found that their posttest mean score was higher than that of the pretest and subsequently was no less than the criterion of 80 percent. 2.2 As the students’ scientific process skills consideration, it was found that they showed their posttest mean score higher than that of the pretest and subsequently was no less than the criterion of 80 percent. 2.3 The students displayed their considerable attitude towards science learning, it was found that they showed their posttest mean score higher than that of the pretest. 2.4 The students showed their self-regulation learning ability at the ‘good’, it was found that they showed their posttest mean score higher than that of the pretest.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)