การถ่ายทอดกลยุทธ์ด้วยวิธีการแบบดุลยภาพของส่วนพัฒนาบุคคล กองการเจ้าหน้าที่ กรมพัฒนาที่ดิน
Main Article Content
Abstract
การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์ของกรมพัฒนาที่ดินลงสู่ส่วนพัฒนาบุคคล ด้วยวิธีการแบบดุลยภาพ ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือคุณภาพ ประกอบด้วย แบบบันทึกการ ประชุม แผนภูมิต้นไม้ แผนที่กลยุทธ์ ตารางกรอบกลยุทธ์ ตารางทดสอบคุณภาพตัวชี้วัด แผ่นอธิบายตัวชี้วัด และแบบกำหนดผลสัมฤทธิ์ของงานรายบุคคล โดยได้แบ่งขั้นตอนการเก็บข้อมูลออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ทบทวนทิศทางของกองการเจ้าหน้าที่ 2) วิเคราะห์สภาพองค์กรของส่วนพัฒนาบุคคล 3) สร้างแผนที่กลยุทธ์ 4) จัดทำกรอบกลยุทธ์ 5) คัดเลือกตัวชี้วัด และ 6) นำไปใช้
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนพัฒนาบุคคลมีวิสัยทัศน์ คือ พัฒนาสมรรถนะการทำงานแบบก้าวกระโดดให้กับ บุคลากรกรมพัฒนาที่ดิน โดยมีพันธกิจ 3 ข้อ ได้แก่ 1) เพิ่มสมรรถนะการทำงานด้วยการจัดการความรู้ 2) พัฒนาระบบฐานความรู้สำหรับบุคลากรเข้าใช้ได้ทันความต้องการ และ 3) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ตรงกับ งาน ซึ่งส่วนพัฒนาบุคคลมีกลยุทธ์หลัก คือ พัฒนาสมรรถนะการทำงานแบบก้าวกระโดดให้กับบุคลากร โดยมี วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ที่เป็นตัวผลักดันและขับเคลื่อนกลยุทธ์ของส่วนงานให้บรรลุความสำเร็จ ตามมุมมอง 4 มิติของส่วนพัฒนาบุคคลจำนวนทั้งสิ้น 5 วัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) มิติด้านประสิทธิผลการบรรลุภารกิจ มี วัตถุประสงค์ คือ เพิ่มขีดสมรรถนะของบุคลากร มีตัวชี้วัด 1 ตัว และกิจกรรมริเริ่ม 1 โครงการ 2) มิติด้าน คุณภาพ มีวัตถุประสงค์ คือ เพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการความรู้ มีตัวชี้วัด 1 ตัว และกิจกรรมริเริ่ม 1 โครงการ 3) มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ คือ สร้างเครื่องมือการพัฒนา ทรัพยากรบุคคล และพัฒนาฐานข้อมูลความรู้ มีตัวชี้วัด 2 ตัว และกิจกรรมริเริ่ม 2 โครงการ และ 4) มิติด้าน การพัฒนาองค์กร มีวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาบุคลากรด้านทรัพยากรบุคคล มีตัวชี้วัด 1 ตัว และกิจกรรมริเริ่ม 1 โครงการ จากนั้นได้นำตัวชี้วัดทั้งหมดมาจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการของบุคลากรในส่วนพัฒนาบุคคล สำหรับใช้ติดตามผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ และเป็นการกำหนดตัวชี้วัดรายบุคคลให้กับข้าราชการในส่วน งานประจำปีงบประมาณ 2554 ซึ่งสามารถกำหนดตัวชี้วัดทั้งหมดให้กับข้าราชการจำนวน 7 คน ประกอบด้วย นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ 2 คน นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ 2 คน และนักทรัพยากรบุคคล ปฏิบัติการ 3 คน
A Strategic Deployment by Balanced Scorecard Technique of Personal Development Sector Personal Division, Land Development Department
The purposes of this study were to deploy Land Development Department’s strategy to the Personal Development Sector with the balanced scorecard. The researcher collected data using a quality tool such as a record of the meeting, Tree diagram, Strategy map, Strategic framework, Key performance indicator’s quality test, Key performance indicator’s template and the achievement of individual work. The process is divided into 6 steps: 1) Review the direction of the Division of Personnel 2) Analysis of state organization of human development 3) Mapping strategy 4) Establishes a framework for strategy 5) Selection of indicators and 6) Implementation.
Research results showed that The Personal Development Sector’s vision is developing the human resource’s competency by performance leap. Personal Development Sector has mission three items: 1) Increase performance by knowledge management 2) Develop the system knowledge base for staff’ needs and 3) Human resource development to meet the task knowledge. The core strategy of Personal Development Sector is developing the human resource’s competency by performance leap. The strategic objectives to drive the strategy and drive the work to achieve success in the four-dimensional view of the five human development objectives were: 1) the dimension of mission effectiveness. The objective is increase capacity of staff performance has 1 indicator and 1 initiated activity 2) the dimensional quality. The objective is increase the efficiency of knowledge management has 1 indicator and 1 initiated activity 3) dimension of performance efficiency. The objective is creating tools for human resource development. And develop a database of knowledge have 2 indicators and 2 initiated activities, and 4) the dimension of organizational development. The objective is develop human resources personnel has 1 indicator and 1 initiated activity. And all indicators have taken to make representations to government officials for monitoring the implementation of the strategy. And use for individually indicator on the fiscal year 2011, which can be indicators for 7 government officials.
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves