การประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้สมการพยากรณ์ เพื่อการวางแผนบริหารสถานศึกษา

Main Article Content

นันทิยา ทองหล่อ
สุรีพร อนุศาสนนันท์
สมโภชน์ อเนกสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษาในอดีตระหว่างปีงบประมาณ 2552 – 2554 เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการพยากรณ์โดยใช้ตัวแบบ ARIMA 4 ตัวแบบ คือ Auto Regressive(MA(p)), Moving Average (MA(q)), Auto Regressive Moving Average (ARMA(p,q)) และ Autoregressive integrated moving average model(ARIMA(p,d,q)) เพื่อประเมินความต้องการ จำเป็นโดยใช้สมการพยากรณ์ และเพื่อจัดทำคู่มือการวางแผนและกำกับติดตามการบริหารสถานศึกษา กลุ่ม ตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 301 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจข้อมูลทุติยภูมิ เกี่ยวกับ สภาพการ บริหารสถานศึกษาย้อนหลัง 3 ปีและแบบประเมินคุณภาพของคู่มือการวางแผนและกำกับติดตามการบริหาร สถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ มัธยฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พยากรณ์ความ ต้องการจำเป็นโดยใช้ตัวแบบ ARIMA จากโปรแกรม MINITAB และจัดลำดับความสำคัญโดยวิธีการการ สร้างมาตรประมาณค่าช่วงขนาด ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารสถานศึกษาในอดีตระหว่างปีงบประมาณ 2552 – 2554 โดยภาพรวมจำแนก ตามกลุ่มงาน พบว่า งานที่มีความถี่และความสำคัญสูงที่สุดของกลุ่มงานบริหารวิชาการคือ การจัดการเรียน การสอนในสถานศึกษา กลุ่มงานบริหารงานบุคคล คือ การเสริมสร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการงาน กลุ่มงานบริหารงบประมาณ คือ การบริหารการเงิน และกลุ่มงานบริหารงานทั่วไป คือ งานกิจการนักเรียน

2. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการพยากรณ์โดยใช้ตัวแบบ ARIMA 4 ตัวแบบ พบว่า การ พยากรณ์โดยใช้ตัวแบบ ARIMA จะมีค่า MSE, MAE และ MAPE ตํ่าที่สุด จึงพิจารณาให้ตัวแบบ ARIMA ที่ผันแปรตามฤดูกาล เป็นตัวแบบหลักการพยากรณ์ความต้องการจำเป็นเพื่อการวางแผนบริหารสถานศึกษา ครั้งนี้

3. การประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้สมการพยากรณ์โดยใช้ค่าพยากรณ์จากตัวแบบ ARIMA พบว่า งานที่เป็นความต้องการจำเป็นที่สูงที่สุดที่ต้องมีการวางแผนในช่วงเวลา 12 เดือน คือ งานบริหาร วิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน และงานบริหารงบประมาณด้านการเงิน

4. คู่มือการวางแผน และกำกับ ติดตาม การบริหารสถานศึกษา ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ บทที่ 2 การวางแผนบริหารสถานศึกษาตามความต้องการจำเป็น บทที่ 3 แนวทางการกำกับ ติดตาม การบริหารสถานศึกษา และบทที่ 4 ข้อเสนอแนะสำหรับการบริหารสถานศึกษา และผลการประเมินคุณภาพ ของคู่มือ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งรายข้อและโดยรวม

 

A Need Assesment by Using Forecast Equation for School Administration Planning

The purposes of this research were to (1) examine the school administration during the fiscal years of 2009-2011, (2) make a comparison of 4 ARIMA models, namely Auto Regressive (MA(p)), Moving Average (MA(q)), Auto Regressive Moving Average (ARMA(p, q)), and Autoregressive integrated moving average model (ARIAM (p, d, q)), (3) assess needs by using forecast equation models, (4) construct school administration manual. The sample group included 301 schools under the Office of Lopburi Primary Education Office, Service Area 1 and the Office of Lopburi Primary Education Office, Service Area 2. The research instruments used for data collection were a survey form of the secondary source concerning school administration in the last three years, and an evaluation form of the school administration manual. The data were analyzed by frequency, median, mean, and standard deviation. The forecast of needs were conducted by using ARIMA models of the MINITAB program. Then the findings about their needs were ranked by using a magnitude estimation scaling.

The findings were as follows:

1. The study of the school administration in the fiscal years of 2009-2011 classified by groups of work showed that the most frequent and important job of the academic affairs was learning management, whereas that of the personnel management was work efficacy, and that of financial management was budgeting management, and that of general management was student affairs.

2. The comparison of the four ARIMA models demonstrated that ARIMA models suggested lowest values of MSE, MAE, and MAPE. Therefore, ARIMA model which was varied according to the seasonal change was chosen to be the main model for the forecast of needs in the school administration planning.

3. In the need assessment by using ARIMA forecast equation models revealed that the job needing 12 month planning the most was academic affairs, learning management, and budgeting management.

4. The school management manual constructed by the researcher proved the highest quality both in the individual aspects, and in the overall. The manual contained Chapter 1, Introduction, Chapter 2, Administration School Planning based on the needs, Chapter 3, Guidelines for school administration and follow-up, and Chapter 4, suggestions on school administration.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)