ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนริมน้ำ : กรณีศึกษาตลาดลาดชะโด อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

กุลนาถ ลักษณศิริ
สุพจน์ พันธนียะ
เสวียน เจนเขว้า

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในการ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในชุมชนริมน้ำตลาดลาดชะโด (2) เพื่อศึกษารูปแบบ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนริมน้ำตลาดลาดชะโด จังหวัด พระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เพื่อ การสร้างยุทธศาสตร์พัฒนา (2) การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีการวิเคราะห์สถานการณ์สภาพแวดล้อมภายในภายนอก (SWOT) เพื่อการ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) บุคลากรภาครัฐ (2) บุคลากรภาคธุรกิจชุมชน 3) ประชาชนท้องถิ่นชุมชน 4) บุคลากร ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนว ทางการสัมภาษณ์แบบสอบถาม โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสัมภาษณ์ การใช้ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดย ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า (1) จากการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนริมน้ำลาดชะโด มีสภาพปัญหาด้านการคมนาคม การจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวยังไม่มีประสิทธิภาพ และยังไม่มีการพัฒนาสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์บริเวณชุมชนเท่าที่ควรและมีจำนวนร้านค้าน้อย ส่วนความต้องการในการ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนคือ ควรมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาการจัดการสถานที่ท่องเที่ยวมีการพัฒนาภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อมชุมชนริมน้ำตลาดลาด ชะโด การพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยว การปรับปรุงร้านค้า และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม โบราณชุมชนริมน้ำตลาดลาดชะโดดังกล่าว (2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ชุมชนริมน้ำตลาดลาดชะโดควรมีการจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวเหมาะสมกับ สภาพแวดล้อมชุมชนภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนา 4 ด้าน คือ ยุทธศาสตร์ด้านที่ 1 การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การ พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ด้านที่ 3 การพัฒนาด้านสถาปัตยกรรม และ ยุทธศาสตร์ด้านที่ 4 การพัฒนาด้านประเพณีวัฒนธรรม

 

STRATEGIES FOR ECOTOURISM DEVELOPMENT OF RIVERFRONT COMMUNITY: A CASE STUDY OF LADCHADO MARKET, AMPHOE PAKHAI, CHANGWAT PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA

This research study aimed: (1) to investigate problems and needs for ecotourism development at Ladchado Market riverfront community and (2) to study strategies for ecotourism development of the riverfront community: in Ladchado market, Amphoe Pakhai, Changwat Phra Nakhon Si Ayutthaya. The study was divided into two stages: (1) the study of background information in order to develop strategies, (2) the of strategies for ecotourism development.

The results revealed that:

1. There were problems and there is a need for strategies on ecotourism development in Ladchado Market riverfront community. Some of the problems were about Transportation. The tourism resources management was not effective The community landscape development was not well-expanded, and shops in the community. were as for the inadequate the needs of the community. ecotourism development, they should develop and manage tourist attractions, expand riverfront landscape development and reinforce activities for tourists. There were also the needs for the improvement of shops and the conservation of traditional architecture of Ladchado Market riverfront community.

2. The strategies on ecotourism development of Ladchado Market riverfront community about tourism resources management were suitable for with environment, local wisdom, tradition, and culture. There were four strategies on ecotourism development: (1) the strategies on local wisdom development, (2) the strategies on environment, (3) the strategies on architecture and (4) the strategies on tradition and culture development.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)