การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ยศชวิน กุลด้วง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสาธิต วัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ กับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 100 คน เป็นกลุ่มทดลอง 50 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ และ กลุ่มควบคุม 50 คน ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามปกติ (ตามหลักสูตรสถานศึกษา) โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้เวลาในการทดลองกลุ่มละ 12 คาบ คาบละ 50 นาที ใช้เนื้อหาเดียวกัน ในการทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ Randomized Control Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ แผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ (ตามหลักสูตรสถานศึกษา) และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การทดสอบค่าสถิติ t-test แบบ Independent และ t-test แบบ Dependent

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ของนักเรียน กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ที่ ได้รับการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ของนักเรียนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามปกติของนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

DEVELOPMENT OF KAAP COMPOSITION WORKSHEETS OF KAAP FOR MATTAYOMSUKSA II STUDENTS

The objective of this study was to compare Mathayomsuksa II students’ achievement in Kaap composition, Wat Pra Srimahadhat Secondary Demonstration School, Phranakhon Rajabhat University, through Kaap composing worksheet and the teacher’s manual.

The sample were 100 Mathayomsuksa II students at Wat Pra Srimahadhat Secondary Demonstration School, Phranakhon Rajabhat University, in the first semester of 2012 academic year. They were randomly assigned into two groups. The experimental group, selected by Cluster Random Sampling, and the control groups with 50 students in each. The experimental group was taught through Kaap composing worksheet; the control group was taught according to the teacher’s manual. Each group was taught for twelve fifty-minute periods. The research design was Randomized Control Group Pretest-Posttest Design. The instruments were Kaap composing work-sheet, the teacher’s manual, students’ achievement test on Kaap composing comprehension. The data were analyzed by t-test independent and dependent t-test for independent and dependent sample.

The results of the study indicated that:

1. The students’ accomplishment on Kaap composition the experimental group and the control group was significantly different at the .01 level.

2. The students’ accomplishment on Thai language on Kaap composition after through of the experimental group was significantly different at the .01 level.

3. The students’ accomplishment accomplishment on Thai language on Kaap composition the teacher’s manual of the control group was higher at the .01 level of significance after they were taught with the kaap composition worksheets

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)