ปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาศูนย์ปฏิบัติการธุรกิจ การบิน วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

อัจฉรา โอบอ้อม
กิตติวรรณ สินธุนาวา
วิสูตร ลู่โรจน์เรือง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการและ การเรียนรู้ของนักศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้ของนักศึกษาศูนย์ จำแนกตาม ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มีผลต่อการเรียนรู้ ของนักศึกษาศูนย์ปฏิบัติการธุรกิจการบินวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาศูนย์ปฏิบัติการธุรกิจการบิน จำนวน 294 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้ตารางสำเร็จรูปเครชซี่และมอร์แกนได้ จำนวน 165 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติ การทดสอบที การทดสอบทีเอฟ เมื่อพบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม จึงทดสอบเป็นรายคู่ ด้วยวิธีของเอลเอสดี โดยกำหนดที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติไว้ที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัด การเรียนรู้ของนักศึกษาศูนย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านสติปัญญา ผลการเปรียบเทียบปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการ จำแนกตามเพศ อายุ เกรดเฉลี่ย และระดับชั้นปี การศึกษา พบว่า ในภาพรวมแตกต่างกัน

2. ปัจจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่มีผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาศูนย์ ปฏิบัติการธุรกิจการบิน วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พบว่า ทุกด้าน ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ร้อยละ 83.01 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

 

MANAGEMENT FACTORS AFFECTING LEARUING ABILITY OF STUDENTS AT THE AIRLINE BUSINESS OPERATIONS CENTER, INTERNATIONAL SCHOOL OF TOURISM, SURATTHANI RAJABHAT UNIVERSITY

The purposes of this research were to 1) determine students’ opinion towards management and learning at the Airline Business Operations Center, International School of Tourism, Suratthani Rajabhat University 2) compare learning ability, of students classified by personal factors and 3) determine management factors affecting student learning ability.

The sample consisted of 165 Airline Business Operations students out of the total population of 294 students derived through a Stratified Random Sampling. Krejcie and Morgan were used for determining sample size from the given population. The instrument used for collecting data was a rating scale questionnaire.

The results showed that:

1. The management factors were found in overall at high level. When talking consideration of it was clear mat each factor, all factors were rated at high level. The highest average was the cognitive domain. The comparative result concerning management in the opimons of student classified by gender, age, grade point average and academic class level chowed no difference.

2. As for the management factors affecting student learning ability, it was found that every aspect influenced students’ leaning at 83.01%, statistically significant at .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)