ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2

Main Article Content

สุรศักดิ์ แจ่มเจริญ
อัญชลี ไสยวรรณ
เสวียน เจนเขว้า
ณรงค์ศักดิ์ บุณยมาลิก

Abstract

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 โดยกำหนดระเบียบวิธีวิจัย ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และสังเคราะห์ทฤษฎี แนวคิด และข้อมูลวิจัย 2) การสร้างร่างยุทธศาสตร์โดยใช้ แบบสอบถามผู้ให้ข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย 3) การตรวจสอบยุทธศาสตร์โดยใช้วิธีการสนทนา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 38 คน การนำยุทธศาสตร์ไปทดลองใช้ในโรงเรียน และการประเมิน ยุทธศาสตร์โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และ 4) การนำเสนอยุทธศาสตร์ต่อคณะกรรมการ หลักสูตรและสาธารณชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย คะแนนความ เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์เนื้อหาและการบรรยาย

ผลการวิจัย พบว่า

1. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 3 ด้าน คือ 1) การเสริมสร้างครูและบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะการจัดการเรียนรู้ เรื่องการ เรียนรู้ด้วยตนเอง 2) การจัดหาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา และแหล่งสนับสนุนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้แก่นักเรียน และ 3) การเสริมสร้างนักเรียนให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และการมีวินัยในการเรียนรู้

2. ผลการตรวจสอบยุทธศาสตร์การเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 ตรวจสอบ โดยการสนทนากลุ่มกับ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบยุทธศาสตร์ การทดลองใช้จริงในโรงเรียน และการประเมินยุทธศาสตร์โดยการ สัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบยุทธศาสตร์มีความเห็นว่ายุทธศาสตร์มีความเหมาะสม มากที่สุดสำหรับการนำไปปฏิบัติในโรงเรียนโรงเรียนสามารถนำยุทธศาสตร์ไปกำหนดเป็น ยุทธศาสตร์เฉพาะของโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ และ การประเมินยุทธศาสตร์โดยวิธีการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ายุทธศาสตร์ ดังกล่าวมีความเหมาะสมมีความเป็นไปได้มีความสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อการนำไปปฏิบัติ จริงในระดับโรงเรียน

 

SELF-DIRECTED ENHANCING STRATEGY LEARNING FOR STUDENT SUNDER THE OFFICE OF PRACHINBURI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA 2

The purposes of this research were to develop and examine a strategy of enhancing self-directed learning for students under the Office of Prachinburi Primary Educational Service Area 2. The research methodologies were :1) current conditions, problems and synthesis on theories, concepts and research documents 2) strategy development by using Delphi technique 3) strategy examination by using focus group discussion with 38 experts, and implementation in a school and strategy assessment by using connoisseurship and 4) strategy the presentation to the curriculum board and the public. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, median, and interquartile ranges Content analysis for qualitative data.

The results of the study revealed that:

1. There were 3 strategic issues on enhancing self-directed learning for students under the Office of Prachinburi Primary Educational Service Area 2 which were 1) knowledge and skill enhancement in self-directed learning instruction for teachers and personnel 2) learning resources acquisition and development, wisdom and supported sources which facilitated students’ self-directed learning and 3) enhancement students in three aspects - motivational enhancement for students, eagerness to learn as well as their learning discipleship.

2. The results on strategy examination of enhancing self-directed learning for students under the Office of Prachinburi Primary Educational Service Area 2 by using focus group discussion with strategy specialists, real and connoisseurship were found most appropriate for the implementation in school. The school was capable to apply and utilize the strategy connoisseurship revealed that they were very appropriate, feasible, congruent and utilizable to implement in the school level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)