ความพึงพอใจและความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอน ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ ต่อวิชากฎหมายปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง

Main Article Content

พรเพ็ญ ไตรพงษ์
ยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล

Abstract

SATISFACTION AND COMMENT OF LAW UNDERGRADUATES TOWARDS LECTURING ADMINISTRATIVE AND ADMINISTRATIVE PROCEDURAL LAWS

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความพึงพอใจและความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนของ
นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ต่อวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง โดยมีวัตถุประสงค์
3 ประการคือ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์
ต่อวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตร
ด้านเอกสารประกอบการสอน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผล 2. เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ต่อการจัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายปกครองและ
วิธีพิจารณาคดีปกครอง ในเรื่องต่าง ๆ 3. เพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงการเรียนการสอนวิชากฎหมายปกครอง
และวิธีพิจารณาคดีปกครอง ให้สำเร็จลุล่วงต่อไป โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา
ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรนิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 150 คน
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
จากนักศึกษา ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจและความคิดเห็นในการจัดการเรียน
การสอนของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ต่อวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งเป็น
แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง เพื่อใช้สำรวจความพึงพอใจและความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอน
ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ต่อวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง วิเคราะห์ข้อมูล
โดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง ผลการวิจัยที่สำคัญมี 1) นักศึกษามีความคิดเห็นในการจัดการเรียน
การสอนของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ต่อวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ด้านเอกสาร
ประกอบการสอน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบความแตกต่าง
ของระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ต่อวิชากฎหมาย
ปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ในเกือบทุกด้านพบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยต่างกัน มีระดับความพึงพอใจ
แตกต่างกัน 3) ผลการทดสอบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษา
หลักสูตรนิติศาสตร์ต่อวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง จำแนกตามระดับคะแนนเฉลี่ย
พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอน
ของนักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ต่อวิชากฎหมายปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง จำแนกตามความถี่
ในการเข้าห้องเรียน ไม่แตกต่างกัน

This research was the study of satisfaction and opinions of the law undergraduates
towards lecturing administrative and administrative procedural laws, with three objectives:
frstly, to explore opinions of the law undergraduates towards lecturing administrative
procedural laws in terms of its contents, lecturers, handouts, lecture-related activities,
measurements and assessments, secondly, to explore satisfactions of the law undergraduates towards lecturing administrative and administrative procedural laws, and lastly, to
utilize inputs into effective improvements of lecturing administrative and administrative
procedural laws. A quantitative method was applied to the sample group consisting of
150 junior undergraduates attending Law Program, in the Faculty of Humanities and Social
Sciences, at Suan Dusit University. The questionnaire was developed by the researchers.
Descriptive and reference statistics were used in data analysis. Two major fndings were
as follows:
1. The satisfactions and opinions of the law undergraduates towards lecturing
administrative and administrative procedural laws, lecturers, handouts, lecture-related
activities were at high level.
2. In comparison of the satisfaction level among the undergraduates towards
lecturing Administrative as well as administrative procedural laws in every side results the
different average point with different satisfaction level.
3. The results from hypothesis testing toward the available factors in this thesis
show that all independent variables can explain variance of job at the .05 level, and
results the different average point indicates no different satisfaction level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)