รูปแบบการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการการพัฒนาอาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่ม รัตนโกสินทร์ และ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ปีการศึกษา 2556 จำนวนประชากร 2,350 คน กลุ่มตัวอย่าง 390 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามราย มหาวิทยาลัยราชภัฏ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ในภาพรวมอยู่ใน ระดับ ปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ด้านที่มีสภาพปัญหาสูงที่สุด คือ ด้านการเขียนตำราและบทความทางวิชาการ รองลงมา คือ ด้านการวิจัย ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและ วัฒนธรรมเท่ากันกับด้านการบริการวิชาการ และต่ำที่สุด คือ ด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ส่วนความ ต้องการการพัฒนาของอาจารย์พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความ ต้องการการพัฒนาอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีความต้องการสูงที่สุดคือ ด้านการเขียนตำราและบทความทางวิชาการ รองลงมา คือ ด้านการวิจัย และต่ำที่สุดคือด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา 2. รูปแบบการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้ 2.1 กิจกรรมหลัก ซึ่งมี 3 มิติ แต่ละมิติมีองค์ประกอบอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1) มิติการสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้สู่ท้องถิ่น มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ด้านการวิจัย และการเขียนตำรา และบทความทางวิชาการ 2) มิติการผลิตบัณฑิต มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ด้านการสอน และด้านการ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ 3) มิติการพัฒนา มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ด้านการบริการวิชาการ และด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 2.2 กิจกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 1) การเตรียมการ 2) การสร้าง กิจกรรมการพัฒนาอาจารย์ 3) การติดตามสะท้อนผลอย่างต่อเนื่อง และ 4) การดำเนินการบริหารทรัพยากร 3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ ในภาพรวม พบว่ามีความเหมาะสมและเป็นไปได้ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผลการประเมินองค์ประกอบของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ผลประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการสอน รองลงมาคือ ด้านการวิจัย และด้านการบริการวิชาการ ด้านการเขียนตำราและบทความทางวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะ และวัฒนธรรม และต่ำที่สุด คือ ด้านการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

The purposes of this research were 1) to study problems and requirements on lecturer development of Rattanakosin Rajabhat University, 2) to generate lecturer development model of Rattanakosin Rajabhat University, and 3) to evaluate lecturer development model of Rattanakosin Rajabhat University.The population of this study was 2,350 lecturers from Rattanakosin Rajabhat University in the year 2013. The sample size was 390  articipants which randomized by using stratified sampling, regarding the names of Rajabhat University. This paper was conducted by utilizing several research instruments including questionnaires and focus group discussion. Then the quantitative data were analyzed by applying fundamental statistics such as percentage, mean, and standard deviation while the qualitative data were analyzed by applying content analysis. The results were as follows: 1. The overall problems of lecturer development of Rattanakosin Rajabhat University were at moderate level. When considering each aspect, all problems were at moderate level as well. However, it found that the problem of textbook and scholarly article writing was at the highest level, followed by research, art and cultural fostering, academic service, and advisory, respectively. The overall requirements on lecturer development of Rattanakosin Rajabhat University were at high level. When considering each aspect, all requirements were at high level too. It represented that the requirements on textbook and scholarly article writing was at the highest level, followed by research, and advisory. 2. Regarding the lecturer development model of Rattanakosin Rajabhat University, it comprised of 2 activities below. 2.1 Main activity: There were 3 dimensions and each of them contained 2 aspects as follows: 1) Dimension of knowledge acquisition and knowledge convey to local community which consisted of various significant elements such as research and textbook and scholarly article writing, 2) Dimension of graduate production included some important elements such instruction and advisory, and 3) Dimension of development contained several considerable elements; for instance, the academic service and the art and cultural fostering. 2.2 Supporting activity: There were 4 sub-activities including 1) Preparation, 2) Creating development activity, 3) Following feedback continously and 4) Operational resources management.3. The overall evaluation result of lecturer development model of Rattanakosin Rajabhat University was found appropriate and feasible at moderate level. When considering each aspect, the suitability was at high level whereas the feasibility was at moderate level. The overall evaluation of the model elements was at high level. When considering each aspect, it illustrated that the evaluation results were at high level.It also represented that the average of instruction was at the highest level, followed by the research, the academic service, the textbook and scholarly article writing, and the art and cultural fostering. Nevertheless, the average of advisor was at the lowest level.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)