ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง เทคนิคการ เลือกตัวอย่าง รายวิชาสถิติเพื่อการวิจัย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง เทคนิคการเลือกตัวอย่าง 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่อง เทคนิคการเลือกตัวอย่าง และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกันของนักศึกษาที่เรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสถิติเพื่อการวิจัย ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ได้นักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ รุ่น 55 หมู่เรียนที่ 1 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบทีของประชากรที่ไม่อิสระกันผลการวิจัยพบว่า คะแนนสอบก่อนจัดการเรียนรู้และหลังจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.03 และ 11.18 ตามลำดับ โดยคะแนนสอบหลังจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมเท่ากับ 4.33 และ 0.498 ตามลำดับ นักศึกษามีพฤติกรรมการทำงานและการเรียนรู้ร่วมกันในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยรวมเท่ากับ 4.17 และ0.553 ตามลำดับ การจัดตั้งกลุ่มของนักศึกษามี 5 รูปแบบ
The aims of the research were 1) to compare the pre-test and post-test mean scores, 2) to investigate students’ satisfaction of the learning, and 3) to study students’ learning behavior through JIGSAW Cooperative Learning. The samples were selected using purposive sampling. The participants were 40 undergraduate computer science students of Phranakhon Rajabhat University who studied the course, “Statistics for Research” in the first semester of 2013 academic year. The data collection instruments were the achievement test and questionnaires. The data were analyzed using mean, standard deviation and dependent t-test. The results showed that the pre-test and post-test mean scores were 7.03 and 11.18 respectively. The post-test mean score was significantly higher (P < 0.01) than the pre-test mean score. The students’ satisfaction of the learning met the high level with total mean score and standard deviation of 4.33 and 0.498 respectively. Group working and learning behavior of the students also met the high level. Total mean score and standard deviation were 4.17 and 0.553 respectively. There were 5 models for group setting.
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves