การสร้างชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 สำหรับนักศึกษาเอกคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

สมวงษ์ แปลงประสพโชค

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส2ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้ชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 ประชากรเป็นนักศึกษาครูเอกคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2556 จำนวน 7 หมู่เรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่กำลังเรียนวิชาแคลคูลัส 2 จำนวน 1 หมู่เรียน นักศึกษา 40 คน เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนประกอบด้วย การอินทิเกรท การประยุกต์ของอินทิเกรท ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันเลขชี้กำลัง ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก เทคนิคการอินทิเกรทหลักเกณฑ์ของโลปิตาล อินทิกรัลไม่ตรงแบบ ลำดับและอนุกรม พิกัดเชิงขั้ว ทำการทดลองในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 2 และแบบวัดความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ได้แก่ ฟังก์ชันลอการิทึมและฟังก์ชันเลขชี้กำลัง (81/68.6) ฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก (74/72.8) หลักเกณฑ์โลปิตาล และอินทิกรัลไม่ตรงแบบ(65/63.9) ลำดับและอนุกรมอนันต์ (61/ 67.1) 2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาแคลคูลัส 2 เฉลี่ยร้อยละ 62.6 3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกปฏิบัติวิชาแคลคูลัส 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ชุดฝึกทำให้เรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าปกติ ทำให้กระตือรือร้นมากขึ้น ชอบทำชุดฝึกร่วมกับเพื่อน ได้ถามและได้อธิบายให้เพื่อน อยากให้มีชุดฝึกแบบนี้ในวิชาอื่น

This research aimed to develop a training practice set for Calculus II, to study the learning achievement for the students that used the practice set for Calculus II, and to measure students’ satisfaction towards the set for Calculus II. The population in the study was a group of mathematics education students at Phranakhon Rajabhat University in 2013 academic year. Among 7 sections, the group was only a section that studied Calculus II in that academic year. The topics of the Calculus II included integration, application of integration, logarithm functions, exponential functions, hyperbolic functions, integration techniques, L’Hôpital’s rule, improper integrals, infi nite series and sequences as well as polar coordinates. This research was conducted in the second semester of academic year 2013. The experimental tools included the practice set of Calculus II, the Calculus II achievement test and satisfaction test about the practice sets of Calculus II. The statistics were percentage mean and standard deviation. 

The research found that: (1) the practice sets of Calculus II satisfying the expected criteria were logarithm and exponential functions (81/68.6), hyperbolic functions (74/72.8), L’Hôpital’s rule and improper integrals (65/63.9) and infi nite series and sequences (61/67.1); (2) the learning Calculus II achievement was 62.6 percent on average; (3) the students mostly satisfi ed towards the practice set of Calculus II. They felt that the set stimulated them to eager to learn by themselves as well as in group and to ask and explain to their partners. They would also like to have the practice set for other subjects.
 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

จุไรรัตน์ ดวงเดือน บุญฤดี แสงจันทร์ วิรัตน์ ชาญศิริรัตนา และสวัสดิ์ วรดี. (2550). การสำรวจสภาพปัญหา และความต้องการในการเรียนการสอนวิชาแคลคูลัส 1, 2 และ 3 สำหรับวิศวกรคณะวิศวกรรมศาสตร์. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ปฤษณา กลับอุดม และคณะ. (2549). พื้นฐานความรู้คณิตศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์กระบวนวิชา แคลคูลัส 206111.เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ยุวนิตย์ หงษ์ตระกูล. (2543). แนวคิดเบื้องต้นของแคลคูลัสสำหรับนักศึกษาสถาบัน

ราชภัฏ. ปริญญามหาบัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

วรรณารัตน์ วิบูลสุข. (2554). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบจับคู่เพื่อน

ช่วยเพื่อนในวิชา แคลคูลัส และเรขาคณิตศาสตร์ MA1093. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Edge, Orlyn P. and Friedberg, Stephen H. (1984). The Journal of

Experimental Education. 52(3), 136-140.

Gordon, Sheldon P. (1997). Out of the Mouths of Babes: Student Questions and Comments in Reform Courses” PRIMUS: Problems Resources and Issues in Mathematics Undergraduate Studies, 7(1)

Miller, L. Diane. (1992). “Teacher Benefits from Using Imprompt Writing Prompts in Algebra Classes”Journal for Research in Mathematics Education. 23(4), 329-340.