ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี 2. เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3. เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงแกไข้คุณภาพชีวิตของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณแบบวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสถิติ Two Independent Sample t-test One-way ANOVA และ LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่าระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านความก้าวหน้า และความมั่นคงในงาน ด้านโอกาสในการพัฒนาขีดความสามารถของตนเอง ด้านการปฏิบัติงานร่วมกัน และความสัมพันธ์กับผู้อื่นในหน่วยงานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความสมดุลระหว่างงาน กับครอบครัว ด้านสิทธิส่วนบุคคล ด้านความปลอดภัยในการทำงานและส่งเสริมสุขภาพ ด้านค่าตอบแทนในการทำงานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลางผลการเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิต การทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี พบว่าข้าราชการที่มีเพศต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุระดับ การศึกษาระดับตำแหน่ง ระยะเวลาการปฏิบัติราชการและรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการ ทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แนวทางพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีนั้น ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานในทุกด้านของข้าราชการทุกระดับเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น
The objectives of this quantitative research was to study and compare the level of the quality of work life of the government officers in Nonthaburi Provincial Administrative Organization, classified by the personal factors then the results provide the appropriate ways to improve the quality of work life of the government officers in Nonthaburi provincial administrative organization. The research was a quantitative survey method. The sample group was 180 government officers. The data was collected by using the questionnaire and devided in 5 levels of evaluation. The statistical analysis used was the frequency, percentage, means, standard deviation, t-test, One-way ANOVA, and LSD. The results has been shown that the level of the quality of work life of the government officers in Nonthaburi Provincial Administrative Organization was generally average with 3.36 mean. In considering of each aspect, it was found that there were 4 high aspects and 4 average aspects. It can be generated as the social relevance (X= 4.16), growth and security (X = 3.70), development of human capacities (X = 3.67), social integration (X = 3.52), total life space (X = 3.10), constitutionalism (X = 3.07), safe and healthy working condition (X = 2.98), and compensation (X = 2.64) In comparing the personal factors and the quality of work life, it was found that the officers with the different gender had the quality of work life not different. The officers with the different age, educational level, job position, work duration, and monthly income had the different quality of work life the statistically significant difference at 0.05 levels. In order to developing and improving the quality of work life of the government officers in Nonthaburi provincial administrative organization, administrator should emphasize on support in all aspects of the developing and improving the quality of life of government officers at all levels to achieve the higher quality of life
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves