เจตคติในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการทหาร กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ในพื้นที่เขตบางเขน

Main Article Content

อัศวิน แสงฟ้าสกุลไท

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศึกษาเจตคติในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการทหารกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ในพื้นที่เขตบางเขน 2) เปรียบเทียบเจตคติในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการทหารกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ในพื้นที่เขตบางเขนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการในกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ในพื้นที่เขตบางเขนจำนวน 273 นาย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า เจตคติในการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการทหารกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ในพื้นที่เขตบางเขนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความคิดเห็น ด้านความรู้สึก และด้านแนวโน้มพฤติกรรมผลการเปรียบเทียบเจตคติในการดเนินชีวิตโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของข้าราชการทหารกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์จำแนกตามตำแหน่งชั้นยศมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในภาพรวมได้แก่ ด้านความคิดเห็น ด้านความรู้สึกและด้านแนวโน้มพฤติกรรม แต่จำแนกตาม อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส ระยะเวลาการทำงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนในภาพรวมไม่พบความแตกต่าง

The thesis objectives were 1) to study the attitude in living of the 1st Infantry Battalions of 11th Infantry Regiment King’s Guard, and 2) to compare the attitude in livingof the 1st Infantry Battalions of 11th Infantry Regiment King’s Guard military personnel whoadopted sufficiency economy philosophy in various personal factored groups. The thesis was a survey research. The samples of this research were 273 military families. The datawere collected by using rating questionnaires as a tool. The statistics that applied toanalyze the data were frequency, percentage, means, standard deviation, and One-WayANOVA. As a result, the study as a whole had high level in attitude in living by adoptingsufficiency economy philosophy in the cerebration component, affective component,and behavioral component. The comparison attitude in living by personal factors of military personnel who adopting sufficiency economy philosophy in various ranks and appointments had significant variation at 0.05 statistical percentage in the cerebration component, affective component and Behavioral component. However this research had not found any differences of age, educational level, marital status, the average of income, and the work-hours duration.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)