การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ

Main Article Content

กิ่งกาญจน์ ผลิกะ
นพปฎล สุวรรณทรัพย์

Abstract

INVENTORY MANAGEMENT BY APPLYING THE THEORY OF ABC CLASSIFICATION ANALYSIS, EOQ MODEL TECHNIQUES AND SILVER-METHOD : A CASE STUDY OF XYZ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการบริหารสินค้าคงคลังประเภทสินค้าสำเร็จรูปของบริษัท XYZ เป็นการ
วิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการหาวิธี
การสั่งซื้อที่เหมาะสมให้กับบริษัทและเพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านสินค้าคงคลัง เก็บรวบรวมข้อมูลจากการ
สัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้างและไม่เป็นทางการกับผู้จัดการคลังสินค้าและโลจิสติกส์ ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ
เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า และใช้ข้อมูลย้อนหลังของสินค้าคงคลังประเภทต่าง ๆ ในปี พ.ศ.2557
การวิจัยในครั้งนี้ประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classifcation Analysis เพื่อแบ่งประเภทจัดลำดับความสำคัญกับ
สินค้าจำนวน 272 รายการ แต่มีรายการสินค้าที่ขายได้จำนวน 225 รายการ พบว่าได้สินค้าคงคลังกลุ่ม A
จำนวน 41 รายการ กลุ่ม B จำนวน 48 รายการ และกลุ่ม C จำนวน 136 รายการ หลังจากนั้นนำสินค้าคงคลัง
เฉพาะกลุ่ม A มาคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน พบว่า มีสินค้าคงคลัง จำนวน 3 รายการ
ที่มี ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน <0.25 แสดงว่า รูปแบบความต้องการมีลักษณะคงที่ สม่ำเสมอ จึงเหมาะสม
กับเทคนิค EOQ Model และมีสินค้าคงคลัง จำนวน 38 รายการ ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน >0.25
แสดงว่า รูปแบบความต้องการลักษณะไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ จึงเหมาะสมกับวิธี Silver-Meal ผลการวิจัย
พบว่า การประยุกต์ใช้เทคนิค EOQ Model สามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้ 23,244.95 บาทต่อปี
คิดเป็น ร้อยละ 26.79 และจากการประยุกต์ใช้วิธี Silver-Meal สามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้
203,628.39 บาทต่อปี คิดเป็นร้อยละ 44.38

This research was a study of inventory management of XYZ. This study was a
qualitative research that emphasized the cost of inventory. The purposes were to fnd
the mode of appropriated order and to deduct inventory cost for the company. The
method employed in this study was collecting information from the informal interviews
with Inventory and Logistics Manager, Purchasing Manager, staffs in the store and studying the historical data of each inventory within 1 year (A.D. 2014) by applying the theory
of ABC Classifcation Analysis to prioritize the 272 goods but it had sold 225 items. The
results of classifcation were as follows: 1) The inventory A had 41 items, 2) Inventory B
had 48 items, and 3) Inventory C had 136 items. After calculating to get the coeffcient of
variance from the inventory A, it was found that there were 3 items which the coeffcient
of variance was < 0.20. This means that the format of the requirement was stable and
regular. It was appropriated with technique EOQ Model. There were 38 items which the
coeffcient of variance was > 0.20. This means the format of the requirement was not
stable and not regular, so it was appropriated with Silver-Meal Method.
The result of the research found that the applying of EOQ Technique could deduct
cost of the inventory 23,244.95 Baht per year or 26.79% and the applying of Silver Meal
Method could deduct cost of the inventory 203,628.39 Baht per year or 44.78%

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)