การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธวัชชัย นิลประดับ
ณัฐพล ชุมวรฐายี
วัชรพงษ์ แพร่หลาย

Abstract

A STUDY OF TEACHERS’ VIEWS ON GOOD GOVERNANCE
PRINCIPLES OF THE SCHOOL ADMINISTRATION UNDER
BANGKOK EDUCATION SERVICE AREA OFFICE

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล
ของผู้บริหารในทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร ใน 6 ด้าน
ได้แก่ ด้านนิติธรรม ด้านคุณธรรม ด้านความโปร่งใส ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความรับผิดชอบ และด้าน
ความคุ้มค่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษา กรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามชนิด
มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการหาเชฟเฟ่ (Scheffe’)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานครโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. ครูที่อยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกัน มีทัศนะต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิตที่ .05 และสำหรับครูที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีทัศนะ
ต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพ
มหานคร โดยรวมไม่แตกต่างกัน

The purposes of this research were to study and compare teachers’ views on Good
Governance principles of the school administration under Bangkok Education service Area
Offce. There were six aspects studied: rule of law, morality, transparency, participation
accountability and utility. The samples were 312 teachers of the school administration
under Bangkok Education service Area Offce in the academic year of 2557 (B.E.) The
research instrument was a questionnaire with a fve-rating scale which had reliability at 89.
The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.
The analysis of variance, and Scheffe ‘ method of compared for pairwise.
The research fnding were as follows:
1. The overall and each aspect of compare teachers’ views on Good Governance
principles of the school administration under Bangkok Education service Area Offce were
at high level.
2. The overall view of teacher from different department on the Good Governance
principles of the school administration under Bangkok Education service Area Offce
were signifcantly different at .05 level. The overall view of teachers from different
education, experience and school size on the Good Governance principles of the school
administration under Bangkok Education service Area Offce were not different.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)