รูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

Main Article Content

มณีรัตน์ กุลวงษ์
วัชรินทร์ อินทพรหม
เตชิต ตรีชัย
สิริกร ฉัตรภูติ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงของผู้สูงอายุ 2) ความต้องการพัฒนาในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุ 3) รูปแบบในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม ดังนี้ การวิจัยเชิงปริมาณประชากร จำนวน 1,265 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 297 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และการสนทนากล่มุ การระดมสมอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การตีความ เนื้อหาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางโดยมีสภาพการ พึ่งตนเองด้านสังคม และด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าภาพรวม ตามลำดับ 2. ความต้องการพัฒนาในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลพุเตยอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยก ประเด็นย่อยพบว่าความต้องการพัฒนาด้านสังคม และด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าภาพรวม ตามลำดับ 3. รูปแบบในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นตอนการมีส่วนร่วม (2) ขั้นตอนกระบวนการจัดการ (3) ขั้นตอนการเรียนรู้ และ(4)ขั้นตอนการสร้างความเข้มแข็ง

The purposes of this research were to study 1) the state of self-sufficiency of the elderly, 2) the need to develop in self-sufficiency of the elderly, 3) the model of self- sufficiency under the philosophy of ‘sufficiency economy’ of the elderly in Phutoei Municipal Area, Wichianburi District, Phetchabun Province. The study was the mixed research methodology both qualitative and quantitative. The samples included 297 elders and 12 Key older informantsin Phutoei Municipal Area. The instruments consisted of questionnaire, interview, focus group, and brain storming. The quantitative data was analyzed with the statistics of percentage, mean, and standard deviation and the qualitative data was interpreted by purposes of the research. The research findings revealed that: 1. the state of self-sufficiency under the philosophy of sufficiency economy of the elderly in Phutoei Municipal Area, is that, the overall average was found at moderate level, and on a separate issue found that social and mental self-sufficiency was lower than the overall average respectively. 2. the need to develop in self-sufficiency under the philosophy of sufficiency economy of the elderly in Phutoei Municipal Area the overall average was found at high level, and on a separate issue found that social development, and mental need was higher than the overall average respectively. 3. The model of self-sufficiency under the philosophy of sufficiency economy of the elderly in Phutoei Municipal Area were included 4 processes of participating, planning and developing, learning, and strengthening.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)