การขัดเกลาทางความคิดเกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างยั่งยืนในกลุ่มสาขาอาชีพหลักของจังหวัดเชียงราย : ศึกษาในมิติของการสื่อสาร

Main Article Content

คมสัน รัตนะสิมากูล

Abstract

การศึกษาเรื่อง การขัดเกลาทางความคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อการนำไปใช้อย่าง ยั่งยืนในกลุ่มสาขาอาชีพหลักของจังหวัดเชียงราย : ศึกษาในมิติของการสื่อสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การขัดเกลาทางความคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มอาชีพด้านเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และบริการอื่นๆในมิติการสื่อสาร และศึกษาตัวแทนขัดเกลาที่มีอิทธิพลต่อการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 408 คน และใช้การสนทนากลุ่ม เพื่ออธิบายผลที่ได้จากการวิจัยเชิงสำรวจ ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความหมายคำว่าเศรษฐกิจพอเพียงในสามลำดับแรกว่า ประหยัด ความพอประมาณ และพึ่งพาตัวเองได้ตามลำดับ โดยแหล่งสารที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้กลุ่ม ตัวอย่างนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รองลงมา คือ เพื่อน และสื่อสารมวลชนต่างๆ สำหรับการขัดเกลาทางความคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ สรุปได้ว่า ในภาพรวมกลุ่มอาชีพพาณิชยกรรมและบริการถูกขัดเกลาในเรื่องความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกัน และเงื่อนไขความรู้และคุณธรรมมากกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ ส่วนตัวแทนขัดเกลา (แหล่งสาร) ที่มีอิทธิพลต่อการนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ได้อย่างยั่งยืนของกลุ่มอาชีพต่างๆ นั้น ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ครอบครัว เป็นแหล่งสาร ที่สามารถพยากรณ์ร่วมกันได้ร้อยละ 68.4 นอกจากนั้น การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ยังพบว่า ครอบครัว เป็นตัวแทนขัดเกลาในทุกองค์ประกอบ 3 ห่วง 2 เงื่อนไขที่สามารถพยากรณ์การนำเศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้อย่างยั่งยืนได

The study of socialization of thoughts on sustainable implementation of suffciency economy philosophy in major occupations in Chiang Rai province: the study of communication dimension, aimed to study the socialization of thoughts on the sustainable implementation of suffciency economy philosophy in occupations of agriculture, industry, commerce and services in communication dimension, and to study of socialization agents influencing on the sustainable implementation of suffciency economy philosophy. The method used in this study was a survey research. Four hundreds and seven respondents were randomly selected. Focus groups were conducted and discussions were analyzed to explain the result of survey. The fndings revealed that respondents defne suffciency economy philosophy as economize, moderate, and rely on self-reliance, respectively. Role model influencing on the sustainable implementation of suffciency economy philosophy in respondents were His Majesty the King, peer group and mass media, respectively. Socialization of suffciency economy philosophy of three principles and two conditions in the occupation groups revealed that in the commerce and services occupation group were socialized more than other occupation group in terms of economize, reason, immunity and knowledge and virtue. Regression Coeffcients analysis showed that occupation, motivation of implementation of suffciency economy and family can be used to predict the sustainable implementation of suffciency economy philosophy in 68.4%. In addition, the result also showed that family was only agent of socialization in all three principles and two conditions of suffciency economy philosophy.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biography

คมสัน รัตนะสิมากูล, สาขานิเทศศาสตร์ (การสื่อสารสื่อใหม่) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

นิเทศศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2549)  ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สังกัดสาขานิเทศศาสตร์ (การสื่อสารสื่อใหม่) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย