การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย The Development of Ethnic Traveling Routes in Chiangrai Province

Main Article Content

ผศ.ดร.เสริมศิริ นิลดำ
กษิดิศ ใจผาวัง
จิราพร ขุนศรี
เบญจวรรณ เบญจกรณ์
ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง
นิเวศ จีนะบุญเรือง
พีรญา ชื่นวงศ์

Abstract


งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวตามรอยชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์
เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายและประเมินศักยภาพของแหล่ง
ท่องเที่ยว สถานที่หรือชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามรอยชาติพันธุ์บนเส้นทางท่องเที่ยวเศรษฐกิจ
ในจังหวัดเชียงราย และ 2) เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย โดยมุ่งบน
เส้นทางท่องเที่ยวเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์
เอกสาร การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยสามารถ
สรุปได้ดังนี้ข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายและประเมินศักยภาพของแหล่ง
ท่องเที่ยว สถานที่ หรือชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามรอยชาติพันธุ์บนเส้นทางท่องเที่ยวเศรษฐกิจ
ในจังหวัดเชียงราย พบว่า พื้นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงรายที่สามารถเชื่อมโยงพัฒนา
เป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้มี 3 อำเภอคือ อ.เมือง อ.แม่จัน และ อ.แม่สาย ประกอบด้วย 6 ชาติพันธุ์ ได้แก่
1) กลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ 2) กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ 3) กลุ่มชาติพันธุ์เมี่ยนหรือเย้า 4) กลุ่ม
ชาติพันธุ์ชนเผ่าลีซูหรือลีซอ 5) กลุ่มชาติพันธุ์ชนเผ่ากะเหรี่ยงหรือปกาเกอะญอ และ 6) กลุ่มชาติพันธุ์ม้ง
หรือแม้ว ผลการประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว สถานที่ หรือชุมชนเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว
ตามรอยชาติพันธุ์บนเส้นทางท่องเที่ยวเศรษฐกิจในจังหวัดเชียงรายในพื้นที่ 3 อำเภอ พบว่า มีสถานที่
หรือชุมชนที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ได้ 28 จุด โดยสถานที่ท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ที่ได้รับการประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน รองลงมาได้แก่ ตลาดแม่สาย อันดับสาม ได้แก่ วัดพระธาตุดอยเวา และน้อยที่สุด ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ขุนส่าเส้นทางท่องเที่ยวตามรอยชาติพันธุ์ในจังหวัดเชียงราย พบว่า สามารถพัฒนาได้ 3 เส้นทางสำคัญ คือ เส้นทางท่องเที่ยวที่ 1 ธรรมชาติตามรอยชาติพันธุ์ เส้นทางที่ 2 วิถีภูเขากับชนเผ่าชาติพันธุ์ และเส้นทางที่ 3 เยือนยลหลากชาติพันธุ์สีสันดอยตุง เมื่อประเมินมาตรฐานของเส้นทางการท่องเที่ยวชาติพันธุ์ทั้ง 3 เส้นทาง พบว่า ทุกเส้นทางมีมาตรฐานในระดับปานกลาง


The research on the development of ethnic traveling routes in Chaing Rai province is aimed
to 1) study of primary data on history of each ethnic group in Chiang Rai and to evaluate the potential
province of the tourist attractions, places and communities to promote as ethnic traveling routes in
Chiang Rai, and 2) to develop ethnic traveling routes in Chiang Rai focusing on economic tourism
routes. The research methodology used for the study was qualitative by documentary research,
focus group, in-depth interview and non-participant observation. The results of the study were as
follows:

The primary data on history of ethnic groups in Chiang Rai and the potential evaluation
of the tourist attractions, places and communities to promote the ethnic traveling routes in Chiang
Rai found that the location of ethnic groups in Chiang Rai are connected and can be developed
as new tourism route are Mueang, Mae Sai and Mae Chan districts. The ethnic groups found in
these areas are Lahu, Akha, Mien, Lishu, Karen and Mhong. According to the potential evaluation
of tourist attractions, places and communities to promote as an ethnic traveling route in Chiang
Rai in three districts found that there are 28 tourist attractions that can be developed to be ethnic
traveling routes. The tourist attractions that score the highest is Tea Oil and Plant Oil Development
Center, Mae Sai market and Wat Phra Taat Doi Wao respectively. The lowest score in potential
evaluation is Khun Sa Old Camp.

The ethnic traveling routes in Chiang Rai found that the ethnic traveling routes in Chiang
Rai can be created into 3 routes which are 1) Nature along Ethnic Route 2) Mountains in Ethnicity’s
Lifestyle and 3) Doitung: Hill Tribes way of life. As the result of the potential evaluation found that
every route has moderate standard.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

รายการอ้างอิง

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : สามลดา.

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2493). สามสิบชาติในเชียงราย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อุทัย.

ปริญญา กายสิทธิ์. (2536). คนเชียงราย ความหลากหลายทางชาติพันธุ์. ใน ภูมิปัญญาล้านนาในมิติวัฒนธรรม.

มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และคณะ. (2549). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง. สถาบันวิจัยสังคม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2552). รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศรีสุภา สหชัยเสรี. (2546). การตลาดในยุคเศรษฐกจใหม : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร. ทิปปิง พอยท์.

สราวุธ อนันตชาติ. (2549). Ad@chula on contemporary views on advertising. กรุงเทพมหานคร : สาขาการโฆษณา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล เศวตเศรนี. (2556). ภาวะเศรษฐกิจโลกกับการท่องเที่ยวไทย ปี 2556. กรุงเทพมหานคร : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสถิติจังหวัดเชียงราย. (2555). รายงานสถิติจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2555. เชียงราย.

Kotler, Philip, Bowen, John and Makens, James C..(2006). Marketing for Hospitality and Tourism. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall International.