DEVELOPMENT OF E-COMMERCE CHANNEL AMONG COMMUNITY ENTERPRISES NETWORK

Main Article Content

รัฐพล สังคะสุข
กัลยา นาคลังกา
วิริยาภรณ์ เอกผล
วรพรรณ สุรัสวดี

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดจำหน่ายและการซื้อสินค้าวิสาหกิจชุมชน
ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สู่การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ออกแบบระบบการจัดจำหน่ายสินค้า
บนช่องทางพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายระหว่างระบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นกับเว็บไซต์สำเร็จรูป โดยทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการกลุ่ม
สินค้าวิสาหกิจชุมชน 150 ราย และกลุ่มผู้บริโภคสินค้าวิสาหกิจชุมชน 50 ราย และวิเคราะห์ผลมาพัฒนา
กลยุทธ์ทางการตลาด และออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ ผลวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการมีช่องทางการจัดจำหน่ายเรียงตามลำดับยอดขาย ได้แก่ การออกบูธ 133 ราย หน้าร้านตัวเอง 100 ราย ออนไลน์ 22 ราย ขายตรง 11 รายและฝากขาย 10 ราย ผลสำรวจผู้บริโภคพบว่าสินค้าวิสาหกิจชุมชนที่ผู้บริโภคเคยซื้อหรือสนใจจะซื้อผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ อาหาร เสื้อผ้าเครื่องประดับ ของใช้ในครัวเรือน สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เครื่องดื่ม ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์กลยุทธ์การตลาด คือ 1) กลยุทธ์การรับประกันราคาที่ดีที่สุด 2) กลยุทธ์การจัดชุดสินค้า 3) กลยุทธ์จัดกระเช้าของขวัญ 4) กลยุทธ์การสร้างเรื่องราวให้สินค้า 5) กลยุทธ์การเข้าถึงช่องทางจัดจำหน่ายออนไลน์ ผลการทดลองจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นและมีกำไรขั้นต้นสูงสุด ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ของใช้ของตกแต่งบ้าน และเสื้อผ้าเครื่องประดับ โดยเมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับช่องทางเฟซบุ๊กแล้วลูกค้าสามารถเข้าถึงมากกว่าเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้นถึงร้อยละ 64.75

This research aims to study an e-commerce distribution of community enterprise products to
design marketing strategy and to compare the efficiency of distribution channel through a developed
e-commerce system. A personal interview survey method was used to collect data in 2 groups;
150 community enterprise entrepreneurs and 50 consumers. Data of interview is created to design
marketing strategy and develop web application and social network (Facebook). The research
show that community enterprise entrepreneurs channel conduct 133 booths, 100 shops, 22 online
channels, 11 direct sales, and 10 consignment. From the survey of customer’s behaviors, it was
found that, they show interests in community enterprise product food, non-food herb, appliance/
home decoration, and garment/ornament, respectively. The result of marketing strategy analysis
reveals that the first priority is best price guaranteed strategy following by commodity strategy,
basket design strategy, product history strategy, and e-commerce strategy respectively. The result
of selling products through e-commerce system show that selling food gained most profit following
by drinks, non-food herb, appliance/home decoration,, and garment/ornament products respectively.
After comparing its efficiency with channel, it was found that the number of customers that access
products through facebook was more than the web application by 64.75%

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)
Author Biographies

รัฐพล สังคะสุข, Phranakhon Rajabhat University

Industrial Technology

กัลยา นาคลังกา, Phranakhon Rajabhat University

Faculty of Management Science

 

วิริยาภรณ์ เอกผล, Phranakhon Rajabhat University

Phranakhon Rajabhat University Business Incubator

วรพรรณ สุรัสวดี, Phranakhon Rajabhat University

Faculty of Humanities and Social Sciences

References

คมกฤช ยาสมุทร และนำพล นันทปรีชากุล. (2549). ระบบการจัดการเว็บพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของโรงงานผลิตมะขามแปรรูป บริษัท สารัชมาร์เก็ตติ้ง จำกัด. มหาวิทยาลัยนเรศวร. สำนักหอสมุด.

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). คู่มือการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นจาก http://www.sceb.doae.go.th.

จารุพรรณ จุลหงส์ และสุดารัตน์ แสงแก้ว. (2547). การพัฒนาระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยบาล์ม. มหาวิทยาลัยนเรศวร. สำนักหอสมุด.

จิรภา แสนเกษม. (2545). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

ชูเกียรติ อ่อนชื่น. (2555). การถ่ายภาพอัญมณีในงานโฆษณา. สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนกิจ โคกทอง และคณะ. (2557, มกราคม-มิถุนายน). “การสร้างสรรค์ศิลปะภาพถ่ายดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ค”. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5(1), 26-40.

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2556). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มิ่งขวัญ วิมลสันติโรจน์. (2544). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เมธา ฤทธานนท์. (2550). การตลาดฉบับคอตเลอร์. กรุงเทพฯ: พิมเณศพริ้นติ้งเซ็นเตอร์. แปลจาก Philip Kotler. HOW TO CREATE WINAND DOMINATE MARKETS.

สุรจิต สุนทรธรรม. (2543). ทัศนคติและความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลวิภาวดี. รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อัปษรศรี ม่วงคง. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ และความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่มาใช้บริการภัตตาคารลอยน้ำเรือริเวอร์ไซด์. สืบค้นจากhttp://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Mark/Ubsornsri_M.pdf

Kotler, P. (2003). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. New Jersey: Prentice Hall, Inc.