รูปแบบความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกับมหาวิทยาลัยในอาเซียน+3

Main Article Content

รศ.ดร.ทิวัตถ์ มณีโชติ
ทรงยศ สาโรจน์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและสังเคราะห์บทบาททางการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประชาคมอาเซียน 2) ศึกษาสภาพการดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประชาคมอาเซียน  และ 3) พัฒนาและประเมินรูปแบบความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกับมหาวิทยาลัยในอาเซียน+3 ใช้การวิจัยแบบผสมผสานโดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านอาเซียนและทางด้านการศึกษา จำนวน 10 คน และผู้บริหารและอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า

1. บทบาททางการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประชาคมอาเซียน ได้แก่ 1) การปรับปรุงข้อบังคับ ระเบียบ และเงื่อนไขให้เอื้อต่อการเป็นสมาชิกอาเซียน 2) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  3) การพัฒนาโครงการความร่วมมือกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน และ 4) การสร้างเครือข่ายทางการศึกษากับมหาวิทยาลัยในอาเซียน 

2. สภาพการดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในประชาคมอาเซียน พบว่า มีเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและนอกประชาคมอาเซียน รูปแบบความร่วมมือเป็นแบบบางส่วนหรือบางกิจกรรม กิจกรรมที่ทำมากที่สุด คือ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร และลักษณะของความร่วมมือมีความเข้มแข็งและต่อเนื่องในบางเครือข่าย

3. รูปแบบความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศในอาเซียน+3  มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ 6 หลักการ  กระบวนการ 4 ขั้นตอน และปัจจัยและเงื่อนไขความสำเร็จ 5  รายการ  ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินรูปแบบ องค์ประกอบของรูปแบบและรายการขององค์ประกอบทุกรายการในระดับมากที่สุด

The purposes of this research were to 1) study and synthesis a role of Rajabhat Universities in the ASEAN community, 2) study the operating conditions of Rajabhat Universities in the ASEAN community, and 3) develop and evaluate an educational cooperative model for Rajabhat Universities and universities in ASEAN+3. The mixed methods research was used, a group of participants who gave data were 10 of experts in ASEAN and education, and 20 of administrators and lecturers of Rajabhat Universities. The research instruments were interview guideline, questionnaires, focus group discussion guideline, and a model evaluate form. The data was analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

                The research results were as follows:

1. The role of Rajabhat Universities in the ASEAN were to 1) adjust the regulations, roles and conditions to be suitable for being ASEAN community member, 2) prepare to be one of the ASEAN community member, 3) develop a cooperative project with ASEAN community members, and 4) conduct educational network with universities in ASEAN community.

2. The operating conditions of Rajabhat Universities in the ASEAN community found that to have educational cooperative network with universities in and out ASEAN community. The cooperative model was some cooperation or some activities. The most activity was an exchange students, lecturers and personnel, and the cooperation, which had strong and continued for some networking.

3. An educational cooperative model for Rajabhat Universities and universities in ASEAN+3 had 3 components i.e., 6 principles, 4 steps of process and 5 of successful factors and conditions. A model qualified evaluation had showed that all elements and components were in the highest level

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)