การพัฒนาการจัดการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปรีชา ศรีสง่า
สืบวงศ์ กาฬวงศ์
เมธี ทรัพย์ประสพโชค

Abstract

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเครือข่ายผู้ปกครอง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและครู ภาวะผู้นำ การใช้ประโยชน์เครือข่ายผู้ปกครองและความสัมพันธ์กับการจัดการเครือข่ายผู้ปกครอง และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและการพัฒนาแนวทางการการจัดการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร การวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 ประชากร คือ สมาชิกเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 2,545 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 346 คนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบแบบเพียร์สัน 2) การวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบความสอดคล้องของเนื้อหาโดยวิธีการแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเครือข่ายผู้ปกครอง ของสมาชิกเครือข่ายผู้ปกครอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับการจัดการเครือข่ายผู้ปกครอง ทุกด้านมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันกับการจัดการเครือข่ายผู้ปกครอง 3. ปัญหาอุปสรรคการจัดการเครือข่ายผู้ปกครอง คือ การจัดการประชุมสมาชิกเครือข่ายผู้ปกครอง การจัดทำผลการสรุปผลการดำเนินงานเครือข่ายผู้ปกครอง การประสานหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนทางวิชาการและงบประมาณ การร่วมเป็นวิทยากรของผู้ปกครอง การชี้แจงสภาพปัญหาและอุปสรรคของการทำงาน การรวบรวมความคิดเห็นของผู้ปกครองเสนอต่อผู้บริหาร การประชาสัมพันธ์ชี้แจงผลการดำเนินงานของเครือข่ายและโรงเรียนให้แก่ผู้ปกครองได้รับทราบ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและครูของเครือข่าย แนวทางการพัฒนาการจัดการเครือข่าย คือ ผู้ปกครองเครือข่ายและครูควรมีการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ การปรับทัศนคติความเข้าใจผู้ปกครองกับครู การจัดประชุมผู้ปกครองอย่างต่อเนื่องตามระเบียบข้อบังคับของเครือข่ายผู้ปกครองอย่างน้อยควรมากกว่า 2 ครั้ง และการแจ้งปัญหาให้ผู้ปกครองเครือข่ายทราบโดยตรงดีกว่าแจ้งผ่านทางนักเรียน

This research aimed to 1) investigate the parent network management of Satreesetthabuthbumpen School, Min Buri District, Bangkok Metropolis, 2) study relationship factors between parents and teachers, leadership and utilization of parents network and parent network management, and  3) explore the problems and obstacles and suggest guidelines on parents network management development Satreesetthabuthbumpen School. The study was both quantitative and qualitative. The population was 2,545 members of parents network of Satreesetthabuthbumpen School. The sample size of 346 members was calculated by Taro Yamane’s method. The questionnaire with the reliability of 0.96 was used as an instrument to collect quantitative data and the in-depth interview with 8 respondents was a tool to collect qualitative data. The descriptive statistics including frequency, percentage, mean standard deviation and Pearson's statistical technique were applied to analyze the quantitative data and the content analysis with the qualitative data in order to facilitate the validation of data and the triangulation method. It was found that: 1) The overall parents network management of Satreesetthabuthbumpen School was at a high level and ranking at the top three was simple operational process, mutual learning, and cooperation and information respectively. 2) All factors had significant relationship with the network management of Satreesetthabuthbumpen School at a statistically significant Level .01 and three factors including the simple operational process, the cooperation, the mutual learning and information had positive relationship with the network management. 3) The problems and obstacles of parents network management were holding the meeting for the parent network members, making the summary report of parent network operation, seeking the financial source and raising fund for academic support, engaging as speakers by parents network members, describing problems and obstacles in operation, seeking opinions from the parents network members and sharing with the administrators, publicizing the cooperation between the network and the school, and the relationship between the parents and the teachers. The guidelines proposed to develop the network management were that the parent network and the teachers should regularly work together, positive attitude should be fostered, continuous meeting should be held more than 2 times and the students’ problems should be directly notified to parents.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)