ศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

บุญศุภภะ ตัณฑัยย์
พิศมัย จารุจิตติพันธ์

Abstract

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น 3) ศึกษาระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และ4) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณวิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษากลุ่มตัวอย่างเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จำนวน 50 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีวิจัยเชิงปริมาณศึกษาจากประชากรกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจำนวน 18 กองทุนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400ตัวอย่าง จากประชากรกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value ≤ 0.05

            ผลการวิจัยพบว่า1) กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นสำหรับประชาชนในจังหวัดภูเก็ต มี 18 กองทุน เป็นกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นที่มีศักยภาพปานกลาง 2) การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นฯ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ลักษณะองค์กร คุณลักษณะผู้นำ และลักษณะกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วม 3) ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงค่า (เฉลี่ยเท่ากับ 3.644 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.269) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการบรรลุความมุ่งหมายของกองทุนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.778 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.517 ด้านความสามารถแก้ไขปัญหาของกองทุนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.698 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ0.471และด้านการสร้างนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ3.319ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.396ตามลำดับและ 4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นฯ จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 92 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เรียงลำดับค่าสัมประสิทธิ์ อิทธิพลโดยรวมจากมากไปน้อย คือ ด้านความสามารถแก้ไขปัญหาของกองทุน (0.669) ด้านการบรรลุความมุ่งหมายของกองทุน (0.472) และด้านการสร้างนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วม (-0.875) ตามลำดับ

The objectives of this research were to 1) study potential for local health security fund management, 2) study factors related to the level of local health assurance fund management, 3) study success level in local health assurance fund management, and 4) study factors influencing on the success in local health assurance fund management. This research is mixed methods research combining both qualitative and quantitative research methodology. For qualitative research method, the target group were 50 scholars selected by purposive sampling technique and related in the local health assurance fund management through the methods of in-depth interview, data analysis was made by content analysis.For quantitative research method, the samplings of 400 samples from funds within local health assurance by many steps of sampling.Research tools were questionnaires, descriptive statistical methods analysis such as frequency, distribution, percentage, average, and standard deviation were used for data analysis including Multiple Regression Analysis set of significant                          p-value≤0.05, and Multiple Comparisons.

                The research results were found as follows: 1) The local health insurance funds management in Phuket Province, 18 funds were health fund local potential medium. 2) The level of local health assurance fund management factors related were found nature of organization, the nature of leadership and the nature of participatory activities. 3) The overall success in local health assurance fund management was at high-level (= 3.644, S.D=0.269), with average ranking from highest to lowest level of the achievement=3.778, S.D=0.517, in problem solving= 3.698,S.D = 0.471and in building participative innovation = 3.319, S.D=0.396, respectively. And 4) factors influencing on the success in local level health assurance fund management within Phuket Province by multiple regression analysis were able to predict at 92% with the statistical significance by ranking co-efficiency values of overall influence from highest to lowest level as seen in the problem solving (0.669), achievement (0.472), and building participative innovation factor (-0.875), respectively.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2546). พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

ณัทภร ไชยวงค์. (2556). การประเมินระบบการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน

หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนิก ธนศิรโชติ. (2554). การประเมินนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การ

บริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิเวช เตชะบุตร. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารกองทุนหลักประกัน

สุขภาพระดับท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลสบปราบ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภาส สุนันท์. (2554). ความรู้และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการบริหารในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยะนุช เนื้ออ่อน. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รุ่งเรือง แสนโกษา เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสมเจตน์ ภูศรี. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเครือข่ายเขตบริการสุขภาพที่ 7 กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(2), 156 - 168.

วรรณา ทองกาวแก้ว. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุน

หลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2558-2561. ภูเก็ต:

ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2554). ยุทธศาสตร์การวิจัย (พ..ศ. 2525-

: ภาคใต้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทยและเครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554). การศึกษาผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

Amal, J. (2012). Emerging Health Challenges for Sri Lanka in the New. Millennium. Colombo: University of Colombo.

Masanobu, M., & Katsuhisa, K. (2011). Long-term Care System: A Comparative Analysis of the Proposed Policy. Review of Population and Social Policy. 10, 37–54.

Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.

William, E. (1976). Participation Management: Concept Theory and Implementation. Atlanta G.: Georgia State University.

White, J.G.H. (1982). Lucerne Grazing Management for the 80s. New

Zealand: Agronomy Society of New Zealand.