การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการเรียนรู้กลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

มุทิตา หวังคิด
ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการเรียนรู้กลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 1) สังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการเรียนรู้กลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเอง 3) หาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีความเชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา  ด้านการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทาง  และด้านการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบเป็นเครื่องมือในการวิจัย

      ผลการวิจัยพบว่า

      รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการเรียนรู้กลับทางร่วมกับการเรียนรู้แบบนำตนเองมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การวัดและประเมินผล โดยรูปแบบที่สร้างขึ้นมีคุณภาพตามผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ใน ระดับมาก

 

The purpose of this research was to develop an instructional model for information technology focusing on self-directed learning in flipped learning of the seventh grade students. The research procedures consisted of Studying documents and research related to learning theory, designing and creating an instructional model, and evaluating the efficiency of instructional model.  The sample was composed of 5 experts in computer studies, flipped learning, self-directed learning. The tool of this research was the evaluation form for assessing the suitability of the model. 

         The findings indicated that the major components of the instructional model for information technology focusing on self-directed learning in flipped learning were as follows: 1) principle of instructional model, 2) objectives, 3) learning management process, and 4) measurement and evaluation. The effectiveness of developed model according to the experts’ evaluation of appropriateness was at a high level. 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)