ศักยภาพการจัดการบริการผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม SERVICE MANAGEMENT POTENTIAL OF TOURISM PRODUCT TO PROMOTE CULTURAL TOURISM
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริการที่มีผลต่อศักยภาพการจัดการบริการเพื่อเสนอแนวทางการจัดการบริการของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รัฐและพระสงฆ์ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 20 - 29 ปี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี รายได้ต่อเดือน 10,000 - 20,000 บาท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (ค่า B) พบว่า ตัวแปรกระบวนการบริการที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารมีอิทธิพลต่อศักยภาพการจัดการบริการของแหล่งท่องเที่ยวมากที่สุดร้อยละ 21.2 (B=0.212) ตัวแปรกระบวนการบริการที่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของมีอิทธิพลต่อศักยภาพการจัดการบริการขนส่งเพื่อการท่องเที่ยวมากที่สุดร้อยละ 26.7 (B=0.267) และมีอิทธิพลต่อศักยภาพการจัดการบริการของผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมากที่สุดเช่นกัน คือร้อยละ 29.2 (B=0.292) ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ ชุมชนควรรักษาสถาปัตยกรรมดั้งเดิม สร้างการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวในกิจกรรมท่องเที่ยว จัดป้ายให้ความรู้แนะนำเส้นทางท่องเที่ยว สร้างความร่มรื่น ดูแลความสะอาด ควบคุมราคาการขนส่งและสินค้า เพิ่มรถประจำทาง จัดระเบียบร้านค้าและส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น
The method of this research is quantitative research. This research aims to study service process influence on service management potentials to suggest service management guidelines of tourism products. Data were collected from tourists, entrepreneurs, government officials and monks in Chachoengsao Province. The study indicated that most of the respondents were female, aged between 20-29 years, working as company employees, in undergraduate level and monthly income between 10,000 - 20,000 Baht. The data were analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis. The results of the standardized coefficients beta analysis (B) revealed that providing information is mostly influence on service management potential of destination tourism as 21.2% (B=0.212). The variable that influence on service management potential of transportation service is sense of ownership 26.7% (B = 0.267) and also influence on service management potential of local products as 29.2% (B=0.292). The research suggestions found that community should preserve local architecture, create tourists’ participation in tourism activities, provide destination information sign and direction sign, generate pleasant atmosphere and cleanliness, control tourism product price, add more bus routes, manage retailing zone and promote local product.
Article Details
Each publish articles were copyright by Phranakorn Rajabhat University
Any contents which appeared in each articles in the journal were authors personal opinion. It did not relate to Phranakorn Rajabhat University and other instructors in the university. Each authors would take responsibility on their articles. If there are any mistake, the authors will take responsibility themselves
References
กรมการท่องเที่ยว. (2550). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว.
กรมการท่องเที่ยว. (2559). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้นจากhttp://newdot2.samartmultimedia.com/home/listcontent/11/221/276.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
จิราภรณ์ ขาวศรี. (2556). พฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 9(2), 66-84.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจากัดสามลดา
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2549). การพัฒนาและการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
ใบเฟิร์นวงษ์บัวงามและมุขสุดาพูลสวัสดิ์. (2556). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรโครงการที่ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตรในเขตกรุงเทพและปริมณฑล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นงลักษณ์ จันทาภากุล และนรินทร์ สังข์รักษา. (2556). การศึกษาศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านหัวเขาจีนจังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยบริการ. 24(2), 143-156.
นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วงศ์ธีรา สุวรรณินและคณะ. (2557).การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี.วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(3), 63-82.
วรรณวิมล ภู่นาค.(2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน:กรณีศึกษาตลาดนํ้าอัมพวา. Academic Services Journal Prince of Songkla University. 26(1), 63-74.
วลัยพร ลิ้วตระกูลไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมนักท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิภา ศรีระทุ. (2551). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอำเภอเขาค้อจังหวัดเพชรบูรณ์. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
หทัยพัชร์ บุณทานัง และเพ็ญนี แนรอท. (2558). การบริหารจัดการขยะของประชาชนในเขตตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎเลย. 34, 1-9.
สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. (2556). การจัดการท่องเที่ยวสักการะพระเกจิอาจารย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1(2), 21-30.
โสภณ สุขสำอางค์. (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม : กรณีศึกษา : ตลาดน้ำวัดกลางคูเวียง ตำบลสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Boonratana, R. (2010). Community-Based Tourism in Thailand: The Need and Justification for an Operational Definition. Kasetsart J. (Soc. Sci). 31, 280-289.
Neuman, W. Lawrence.(2006). Social Research Methods: Qualitative and Quantitative Approaches. Boston: Person.